วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ฝึกขับรถยนต์ของ "น้องนิ้งและน้องนนท์"

น้องนิ้งและน้องนนท์ ไปขับรถยนต์เพื่อฝึกทักษะอีกครั้ง ณ.ลานว่างที่หาด PMY ระยองหรืออีกชื่อหนึ่งก็คือ “หาดแสงจันทร์” หาด PMYแห่งนี้ตั้งอยู่ที่ ต.เนินพระ อ.เมือง จ.ระยอง


ปัจจุบันทางราชการได้ปรับปรุงสถานด้านหน้าของโรงแรมที่นี้ให้สวยงามและน่าชมมากยิ่งขึ้น โดยได้ทำถนนหนทางและสถานที่ออกกำลังกายให้กับชาวระยองได้พักผ่อนหย่อนใจทั้งกลางวันและกลางคืน


สถานที่แห่งนี้ได้รับความสนใจจากประชนชนโดยทั่วไปเป็นอย่างมากเพราะมีทั้ง โรงแร บ้านพักแบบเป็นหลัง และร้านอาหารทั้งแบบ ”หรูหรา” และ “แบ-กับดิน” ให้ได้เลือกใช้บริการกัน


บริเวณริมหาดแห่งนี้ได้นำหินมาถมเป็นแนวเขื่อนกันน้ำทะเลเซาะ โดยกั้นเป็นช่วง ๆ ขนานไปกับชายหาดยาวไปตลอดแนว ครั้งแรก ๆ นั้นก็ยังไม่สวยงามจนเมื่อเวลาผ่านไปน้ำทะเลได้ “ตกแต่ง” ชายหาดแห่งนี้ให้สวยงามอย่างที่ผู้ทำก็ไม่คาดคิดมาก่อนว่าธรรมชาติจะทำได้สวยงามแบบนี้เมื่อมองจากที่สูง


ภาพความสวยแบบนี้จะมองจากด้านบนของโรงแรมที่เป็นชื่อเดียวกับหาดนั่นคือ “โรงแรม PMY “ นั่นเอง โดยด้านบนของโรงแรมชั้นที่ 19 ได้เปิดเป็นร้านอาหารแบบบุ๊ปเฟ่


เมื่อไปใช้บริการช่วงกลางวันและกลางคืนแล้วมองลงมายังด้านล่างจะทำให้เห็นทัศนียภาพที่สวยเป็นยิ่งนัก ความสวยงามแบบนี้จะประัทัีบตราตรึงใจท่านไปอีกนานแสนนาน มุมมองหลากหลายที่หาได้ชมแบบนี้มีมากมายครับ ซึ่งทำให้ท่านได้สัมผัสถึงบรรยากาศที่แตกต่างกันไป


บรรยากาศยามเย็นที่หาด pmy หรือหาดแสงจันทร์นี้ จะเป็นอีกแหล่งหนึ่งที่เหมาะสำหรับที่จะพบปะสังสรรค์สำหรับบุคคลธรรมดาที่ไม่ต้องการพิีธีรีตรองใด ๆ



ปัจจุบันเมื่อ “พลบค่ำ” ประชาชนทั้งวัยรุ่นและคนที่ชอบธรรมชาติจะมาพบปะสังสรรค์กิจกรรมก็มีมากมายแล้วแต่กลุ่ม ก็มีทั้ง “ทานข้าวเย็น”



การ “รวมพลของคนรักเครื่องเสียง“
หรือแม้กระทั่ง กลุ่มคนรักรถ” ก็มาใช้บริการ ณ. ที่แห่งนี้


ด้านข้างโรงแรมที่ยังไม่ได้ถูกใช้งานนี่แหละก็จะเป็นลานดินที่ว่างเปล่าขนาดซัก 15 ไร่ ทำให้ประชาชนมาใช้ประโยชน์จากที่แห่งนี้ด้วยการ “ฝึกขับรถ” ทั้ง “เริ่มหัดขับรถ” และ “ขับรถเป็นแล้ว” แต่ “ยังไม่คล่อง” แม้กระทั่งขับรถยนต์ “เก่งแล้ว” แต่ต้องการฝึกฝนให้เก่งไปอีกก็จะมาฝึกที่นี่เช่นกัน

แต่ระวังเมื่อถึงฤดูแล้งหรือพื้นดินแห้งจะทำให้เกิด “ฝุ่น ซึ่งฝุ่นนั้นเมื่อปลิวไปทางร้านอาหาร ซึ่งจะเป็นการรบกวนจึงต้องระมัดระวัง

ดังนั้นสถานที่แห่งนี้ก็เป็นที่รองรับกับคนหลาย ๆ คนที่ต้องการแตกต่างกันไป


น้องนิ้งและน้องนนท์ฝึกหัดขับรถยนต์นานหลายปีแล้ว โดยเริ่มตั้งแต่ตัวยังเล็ก ๆ โดยนั่งตักของ “คุณพ่อ” แล้วฝึกบังคับรถทั้งสองคนเลย ผลัดกันขับบ่อย ๆ

เมื่อทั้งสองคนชำนาญแล้วคุณพ่อก็จะย้ายมาด้านข้างโดยให้น้องนิ้งและน้องนนท์บังคับรถเอง เพียงแค่คุณพ่อเพิ่มเติมว่าให้ไปเลี้ยวจุดใด เลี้ยวแบบใด ขับเร็วอีก หรือทั้งสองคนทำไม่ถูกวิธีคุณพ่อก็จะแนะนำให้ทำใหม่ให้ถูกต้องตามหลักสากล


การฝึกขับนั้นจะเป็นการฝึกขับแบบ “ถูกวิธี” หรือเรียกกันว่า “การขับขี่แบบปลอดภัย” โดยจะเริ่มตั้งแต่ การปรับมุมกระจกมองทั้งด้านข้างซ้ายขวาและกระจกมองหลัง ,การจับพวงมาลัย , การวางเท้าที่แป้นเบรกและคันเร่ง, การเบรกและเร่ง, การจับพวงมาลัยเลี้ยว, การมองเมื่อเลี้ยวรถ ,การถอยหลังรถ,การเบรกรถ

เหล่านี้เป็นพื้นฐานการขับรถยนต์ที่ปลอดภัย จากที่กล่าวมาทั้งน้องนิ้งและน้องนนท์ทำได้หมดแล้ว ส่วนขั้นต่อไปเป็นการฝึกขับแบบเมื่อมีเหตุการณ์คับขันจะต้องทำอย่างไรจะได้ไม่ตกใจ


ซึ่งทั้งน้องนิ้งและน้องนนท์นั้นสามารถขับรถ โกคาร์ท” แบบเร็ว ๆ ได้สบายตั้งแต่เด็ก การขับรถโกคาร์ทได้ตั้งแต่เด็กถ้าเปรียบเทียบในโลกแล้วไม่ใช่เรื่องแปลก


การขับรถยนต์ครั้งนี้....น้องนิ้งและน้องนนท์ไปขับรถคนเดียว...โดยบังคับรถเองปฏิบัติตามทักษะและฝึกให้รถเลื่อนไถลจนกว่าจะเหนื่อยแล้วจึงผลัดให้อีกคนออกไปฝึกขับอีก โดยเข้ามารับฟังข้อปฏิบัติเพิ่มเติม


ทั้งสองภาพซ้ายและขวาเป็นภาพประกอบทั้งเมื่อรถเลี้ยวแล้ว ท้ายปัด และ หน้าดื้อ



ทักษะในการฝึกครั้งนี้เป็นการขับแบบ “ท้ายปัด” หรือเป็นภาษาอังกฤษว่า “OVERSTEER” (ภาพขวามือ)



และแบบ “หน้าดื้อ” (ภาพด้านล่างซ้าย) ภาษาอังกฤษเรียกว่า “UNDERSTEER” หรือเรียกเป็นไทยให้เข้าใจอีกก็คือ “ไม่ยอมเลี้ยว” นั่นเอง

รถยนต์จะเจอเหตุการณ์ทั้งสองแบบนี้มากเมื่อเป็นถนนลื่น การลื่นก็เกิดได้ทั้ง “ดอกยาง” เหลือความสูงน้อย หรือ เลี้ยวมากบวกกับถนนลื่น ....... การฝึกนั้นเราต้องหาพื้นที่ลื่นมาก ๆ เพื่อจะให้รถลื่นเร็ว ๆ เพราะคนที่ฝึกจะได้ฝึกบ่อย ๆ


ทักษะการฝึกนั้นก็เพื่อให้ “น้องนิ้งและน้องนนท์” ไม่ต้องตกใจกลัวเมื่อรถเสียการทรงตัวและจะได้รู้ว่ารถยนต์เสียการทรงตัวแบบใด การแก้ได้จะต้องทำแบบใด



การฝึกอีกรูปแบบหนึ่งคือ วิ่งมาเร็ว ๆ แล้ว “เบรกกะทันหัน” เพื่อให้ล้อล๊อค การฝึกแบบนี้ก็เพื่อให้เรียนรู้ว่า เมื่อล้อหน้าล๊อคแล้ว จะทำให้เลี้ยวได้หรือไม่ แล้วรถยนต์จะไปตามที่เราต้องการไปหรือเปล่า


......ด้วยวิธีการทำให้ล้อหน้าล๊อก (ไม่เกิดการหมุน) เพราะเหตุใดจึงบังคับเลี้ยวไม่ได้ตามต้องการ แล้วจะต้องแก้ไขอย่างไร .........


อีกเหตุผลหนึ่งที่ต้องเรียนรู้คือ ฝึกเบรกแบบล้อล๊อคกับไม่ล๊อคนั้น แบบใดให้ระยะเบรคที่สั้นกว่า


รวมทั้งมีการ “หัด” บังคับรถให้ "ลื่นไถล" ด้วย หรือปัจจุบันเรียกว่า “ดริฟท์” นั่นเอง ทำให้น้องนิ้งและน้องนนท์สนุกกับการขับรถยนต์มาก การขับรถยนต์แบบ "ดริ๊ฟ" นั้นเป็นเรื่องการ "สูญเสีย" การยึดเกาะถนน แต่เป็นเรื่อง "ความมันส์" ตามยุคตามสมัย ......ขอรับ.....


ต่อไปเชิญชม "ภาพประกอบ" ครับ















































































































































































































                  "ชมภาพเคลื่อนไหว"..ขณะหัดขับรถกันเลยคร้าบ....บ