วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สอบก้าวหน้า..ครั้งที่ ๒

วันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๕๕ "นาย..กระดิ่งทอง" และเพื่อนสมาชิกนักศึกษาศูนย์ระยอง รวมทั้งหมด ๒๙ ชีวิต ต้องไป "สอบความก้าวหน้า" ของการทำสารนิพนธ์ ครั้งที่ ๒ ที่ "สีดารีสอร์ท" จังหวัดนครนายก กันอีกรอบ

งานนี้ก็หลาย ๆ ท่านก็เกือบจะสำเร็จแล้ว และมีบางท่านที่สำเร็จ คือ ได้ผลการทำวิจัยหลายท่าน


ดังนั้น..การนำเสนอก็จะ "ราบรื่น" สำหรับบางท่านที่ยังจับทิศทางไม่ถูกและเล่าความสัมพันธ์ไม่ได้ก็ "อาจจะ" ต้องรอเวลาอีกนิด...ครับ..



การสอบความก้าวหน้าครั้งนี้แบ่งออกเป็น 4 ห้อง โดยจะรวมนักศึกษาของศูนย์ระยอง รุ่นที่ 4 และศูนย์อมตะ รุ่นที่ 2 ไ้ว้ด้วยกัน สำหรับ "กระดิ่งทอง" นั้นนำเสนอสารนิพนธ์กลุ่มที่ 3

ห้องนี้ก็มีนักศึกษาด้วยกันทั้งหมด 14 ท่าน (แต่ละห้องไม่เท่ากัน แล้วแต่ว่าการทำสารนิพนธ์นั้นเป็นเรื่องเกี่ยวอาจารย์ท่านใด)


เริ่มต้นนั้น ท่านอาจารย์ ดร.วิชัย รุ่งเรืองอนันต์ นำกล่าวแนะนำอะไร ๆ ให้นักศึกษาได้ทราบสักนิด รวมทั้งขั้นตอนและวิธีการนำเสนอสารนิพนธ์

...ลองฟังกันครับ...






หลังจากนั้น ท่านอาจารย์ สมเกียรติ จงประสิทธิ์พร จึงได้นำเปิดการนำเสนอสารนิพนธ์แบบเป็นทางการ

และท่านก็ได้ "ชี้แนะ" เพิ่มเติมสำหรับท่านที่ต้องการจะนำเสนอผลงานบนเวทีใหญ่ เพื่อรองรับกับการเรียนปริญญาเอกต่อ

....ติดตามชมกัน... ขอรับ...






สำหรับท่านที่ต้องนำเสนอสารนิพนธ์ท่านแรกนั้นคือ คุณวิเศษ โกรัตนะ เป็นนักศึกษาของศูนย์ระยองรุ่นที่ 4

นำเสนอเรื่อง การศึกษาการนำสารทำความเย็นที่ช้แล้วนำกลับมาใช้ใหม่ เพราะเมื่อนำสารทำความเย็นมาทดสอบแล้วก็ต้องทิ้งไปเลย จึงมองเห็นช่องว่างสำหรับการทำกิจกรรมนี้

...ติดตามในรายละเอียดกัน...





ท่านที่สองนั้นคือ คุณจักรภูมิ พึ่งวิรวัฒน์ เป็นนักศึกษาของศูนย์อมตะ รุ่นที่ 2 นำเสนอเรื่อง การประยุกต์ต้นทุนฐานกิจกรรม สำหรับการตรวจวิเคราะห์น้ำมันหล่อลื่น

สำหรับท่านนี้ก็มองเห็นช่องว่างของนำมันที่ใช้แล้วจากรถยนต์ที่ต้องทิ้งไปเลย

แต่ก็มีบางบริษัทที่รับซื้อน้ำมันเครื่องเก่าไป "สลัด" เศษขยะออกแล้วปรับปรุงคุณภาพน้ำมันใหม่ จากนั้นจึงนำมาขายสำหรับอีกเกรดหนึ่ง (มีทำแล้ว)

...ฟังรายละเอียดครั...





สำหรับท่านที่ 3 คือ คุณเจริญ เจริญศุภโชคกุล หรือ "คุณชอร์ค" นั่นเอง ท่านนี้เป็น "ฝ่ายวิชาการ" ของนักศึกษาศูนย์ระยอง รุ่นที่ 4 ครับ เก่ง และ เสียสละสำหรับทุก ๆ ท่านเลย

โดยจะนำเสนอเรื่อง การจัดการวัสดุคงคลังของอะไหล่ โดยพิจารณาความผันแปรของความต้องการและเวลานำในการจัดส่ง

โดยใช้หลายทฤษฎีมากครับ บางครั้ง "งง" กับการนำเสนอเช่นกัน เพราะมีหลายปัจจัย ...แต่...ได้ความรู้เพิ่มเยอะน่ะ

....ติดตามชมกัน...





ท่านที่ 4 คือ คุณบรรลือศักดิ์ จำเหล่ เป็นนักศึกษาของศูนย์อมตะ รุ่นที่ 2 นำเสนอเรื่อง การศึกษาปัจจัยที่เหมาะสมเพื่อลดปัญหกระจกบิดเบือนของผลิตภัณฑ์กระจกมองข้างรถยนต์ โดยวิธีการออกแบบการทดลอง

เนื่องจากกระจกมองข้างของรถยนต์ที่ผลิตได้จะ "บิดเบือน" จากความเป็นจริง ดังนั้นเมื่อนำไปใช้งาน คนขับจะงง และไม่ปลอดภัยเมื่อขับขี่

ซึ่งขั้นตอนนี้เป็นตั้งแต่เริ่มการผลิตจึงต้องแก้ไข แต่วิธีการวิเคราะห์ปัญหานั้นใช้วิชาชั้นสูงเพื่อหาว่าเกิดจากอะไร จะได้แก้ไขถูกทิศทาง
...ติดตามในรายละเอียด...





ท่านที่ 5 คือ คุณศุภณัฐ อยู่เย็น หรือ "กระดิ่งทอง" นั่นเอง โดยผมนั้นเป็นนักศึกษาของศูนย์ระยอง รุ่นที่ 4 ก็ทำหน้าที่ "เขียนประวัติศาสตร์" เก็บไว้ให้ลูก-หลาน หรือ อีกหลาย ๆ ปีเมื่อมาเปิดดูว่าตนเองได้ทำอะไรไว้

..ภาพในอดีตนั้นเป็นอย่างไร โดยไม่ต้องเล่าครับ เปิดดูเลย..

นำเสนอเรื่อง การเพิ่มประสิทธิภาพการฉีดน้ำเพื่อระบายความร้อนที่แผงคอนเดนเซอร์ เป็นการมองเห็นถึงความสิ้นเปลืองในการใช้ทรัพยากรโดยเปล่าประโยชน์ ทั้ง ๆ ที่ใคร ๆ ก็พูดว่า อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

ดังนั้น..กิจกรรมนี้จึงเกิดขึ้นครับ ผมนำเสนอมีสองตอน นี่คือตอนแรกครับ

             ...ติดตามชมกัน...




นี่คือตอนที่สอง ที่ต้องนำเสนอติดต่อกันกันครับ เพราะสไลด์นำเสนอนั้นมีทั้งหมด 121 หน้า จึงนาน




สำหรับท่านที่ 6 นั้นคือ คุณธันยพัฒน์ ยิ้มประเสริฐ หรือ "คุณอี๊ฟ" สำหรับคนนี้นั้นทำเรื่องใหญ่ครับ "ถกกันนานเลย" เป็นนักศึกษาของศูนย์อมตะ รุ่นที่ 2

นำเสนอเรื่อง การศึกษาโครงสร้างความเสี่ยงในโครงการก่อสร้างงานประกอบโครงสร้างขนาดใหญ่ในมุมมองของผู้รับเหมา

ฟังการนำเสนอแล้ว "ยังคาใจ" ครับว่าจะ "ลงเอย" แนวไหน สาระสำคัญนั้นใหญ่มาก เป็นองค์ความรู้แบบบริหารเลย ..แต่.. ต้องนำเสนอในแนว IE สำหรับท่านนี้มีนำเสนอด้วยสองตอนเช่นกัน นี่คือตอนแรกเท่านั้น

         ...ติดตามกันในรายละเอียดครับ...





ช่องนี้เป็นช่วงที่สอง ของการนำเสนอสารนิพนธ์ของ "คุณอี๊ฟ" ติดตามกันต่อ





ท่านที่ 7 คือ คุณณรงค์ชัย พิมพ์ปรุ หรือ "คุณชัย" เป็น "นักกอล์ฟ" ของนักศึกษาศูนย์ระยอง รุ่นที่ 4

นำเสนอเรื่อง ศึกษาการปรับลดปริมาณสารเคมีกรดและด่างเพื่อลดต้นทุนการบำบัดน้ำเสียในโรงงานผลิตสารให้ความหวาน

การนำเสนอมีสองช่วง นี่คือช่วงแรก...ติดตามชมกันเลย..





นี่คือช่วงที่สอง ก็ขอเป็นกำลังใจให้กับ "คุณชัย" ด้วยครับ การสรรหาเนื้อความ "ยาก" เช่นกัน .





สำหรับท่านที่ 8 คือ คุณธานินทร์ บัวบาน เป็นนักศึกษาอมตะ รุ่นที่ 2 บุคลิคนั้น..สุขุม..นุ่มลึก..ครับสำหรับท่านนี้

นำเสนอเรื่อง การปรับปรุงวิธีการทำงานของการผลิตข้อต่อในชุดปั๊มพวงมาลัยเพาเวอร์ เป็นชิ้นส่วนหนึ่งของส่วนประกอบรถุยนต์ซึ่งยังใช้ระบบส่งกำลังแบบ "น้ำมัน"

ในอนาคตนั้นจะเป็น "ไฟฟ้า" กันหมด เพราะประหยัดพลังงานเชื้อเพลิงเป็นตัวตั้ง

...เชิญชมในรายละเอียด...





ท่านที่ 9 คือ คุณสุทัศน์ ตั้งมั่น หรือ "หนุ่มอารมณ์ดี " เ็ป็นนักศึกษาของศูนย์อมตะ รุ่นที่ 2

วันนี้นำเสนอสารนิพนธ์เรื่อง การศึกษาแผนการสั่งซื้อและการคงคลังอะไหล่เครื่องทำความเย็น เป็นแนวอะไหล่ไม่คงที่อาศัยการ "หยิบยืม" จากบริษัทอื่น ก็แสดงมามี "บารมี" หรือ "ความเชื่อใจ" เป็นอย่างสูง แต่ถ้าเมื่อไรเขาไม่ให้ยืม น่าจะเป็นห่วงครับ

...ติดตามชมกัน...






หลังจากผ่านไป 8 คนแล้ว (กำลังนำเสนอคนที่ 9) "คุณวิเศษ" หรือ "พี่เอ๋" ของเรา

นัยว่ามีอะไรจะเล่าให้ฟังเล็กน้อย หรือว่ามีความรู้สึก "โล่ง" แล้ว เพราะว่านำเสนอผลงานไปแล้วนี่


...รับฟังกันหน่อยซิ..






สำหรับท่านที่ 10 คือ คุณเสาวพรรณ ชาญสมุทร หรือ "คุณน้อง" เป็นนักศึกษาของศูนย์ระยอง รุ่นที่ 4 ตัวบาง ร่างน้อย


่ก่อนที่จะขึ้นนำเสนอผลงานนั้น ผมได้สัมภาษณ์กับคุณเสาวพรรณ ว่า มั่นใจขนาดไหนก่อนนำเสนอจริง

ผลนั้น ไม่น่าเชื่อเลย ...ฟัซักนิดละกัน...





วันนี้นำเสนอผลงาน การจัดการระบบเบิก-จ่าย สารเคมีในห้องปฏิบัติการทดสอบของโรงงาน กรณีศึกษา อุตสาหกรรมเคมี คล้ายเบิกของแล้วไม่ค่อยลงเบิกทำให้ "หาย" ไปจากระบบ ดัีงนั้นจึงต้องจัดการใหม่

ครั้นถึงคราวนำเสนองานจริง จะเป็นอย่างไร พกความมั่นใจซักแค่ไหน ประหม่าหรือไม่ สั่น ๆ หรือเปล่า เรามีภาพนำเสนอตามนี้

...ติดตามการรายงาน...





สำหรับท่านที่ 11 คือ คุณนนทกร แสวงลาภ เป็นนักศึกษาของศูนย์อมตะ รุ่นที่ 2 คราวที่แล้วก็ "เปิดโรงพิมพ์" กันสด ๆ คราวนี้จะเป็นอย่างไรกัน

นำเสนอเรื่อง ศึกษาความเป็นไปได้เชิงเศรษฐศาสตร์วิศวกรรมของโครงการสร้างถังเก็บโมโนเมอร์ เป็นการหาดูว่า ถ้าเปลี่ยนจากถึงชนิด 200 ลิตรเป็นถังใหญ่จะคุ้มกันหรือไม่สำหรับการลงทุน

...ติดตามผลงานกันได้เลย...





ช่วงนี้เป็นการ "คลายเคลียด" เพื่อ "ผ่อนคลาย" กันก่อน เราจึงออกมานอกห้องสอบสารนิพนธ์กัน แล้วมาสัมภาษณ์คุณชอร์คถึงที่ผ่านมากันดีักว่าว่า "รู้สึกอย่างไร" กับที่ได้สอบผ่านไปแล้ว

น่าจะ "โล่งใจ" นะ เอ๊ะ...หรือว่าจะเป็นอย่างอื่น

...เชิญฟังกันดูสิ...





ท่านที่ 12 คือ คุณณรงค์ฤทธิ์ มาลาสาย หรือ "หมาก" นั่นเอง ทำงานในสายโรงกลั่น ทำในส่วนของห้องทดสอบ

วันนี้นำเสนอเรื่อง การวิเคราะห์ระบบการวัดค่าความเข้มข้นสารละลายแอคทิเวเตด เมทิลไดเมธาโนลามีน ซึ่งอาจจะเป็น "ความลับ" ของบริษัทต่างชาติที่ขายสินค้าให้ แต่เราก็ค้นหาว่า วิธีอะไรที่จะสอบเทียบได้กับของต่างชาติได้

...ติดตามในรายละเอียดได้เลย...





ท่านที่ 13 คือ คุณสาวิตรี ทับเลิก เป็นนักศึกษาของศูนย์อมตะ รุ่นที่ 2 ครั้งที่แล้วก็ "งง" กับทฤษฎีที่คุณชอร์คนำเสนอไปแล้ว งานนี้ก็คงจะเข้าใจเพิ่มขึ้นแล้วล่ะ (นานแล้วเนอะ)

สำหรับวันนี้นำเสนอเรื่อง การกำหนดกำลังการผลิตที่เหมาะสมสำหรับการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์โดยประยุกต์ใช้ตัวแบบทางคณิตศาสตร์

เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการประเมินการผลิตที่ขึ้น ๆ ลง ๆ ของคำสั่งซื้อชิ้นส่วนรถยนต์ครับ อย่างว่า...เป็นการ "ผูก" กับตลาดของประเทศและโลก ดังนั้นจึง "แกว่งไกว" ไปตามเศรษฐกิจ

...ชมกันตามนี้เลย...





สำหรับท่านสุดท้ายคือ คุณสุขสวัสดิ์ อธิปัญญาพันธุ์ หรือ "พี่ป๊อก" ของเรานั่นเอง เป็นผู้ใหญ่..ใจดี..สมองเลิศ อยู่ในวงการ "โรงไฟฟ้า" ระดับต้น ๆ ของประเทศครับ

นำเสนอเรื่อง การศึกษาผลตอบแทนของการลงทุนปรับปรุงระบบสายส่ง 115 KV จากระบบเรเดียลเป็นระบบลูป กรณีศึกษา โรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมี

ถ้าเกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าดับนะคุณ โรงงานในเครือของพี่ป๊อก "เสียหายหลายล้าน" ครับ ดูซิว่าพี่เค้าจะต้องป้องกันและตรวจสอบอย่างไร

...ติดตามกันได้เลย...






ต่อไปมาสอบถามถึง "แนวสอบ" Comprehensive ซักหน่อยสิว่า น่าจะมี "แนวทาง" อย่างไรกันบ้าง

เพราะแทบจะทุกคน "หวั่นใจ" มาก หนังสือทั้งเล่มจะออกสอบอย่างไรก็ได้ ออกวิธีไหนก็ได้

ดังนั้น...จึงต้องตามกันล่ะว่า มี "เคล็ดลับ" อะไรบ้างไหม

..ผลเป็นดังนี้...





ต่อไป "นาย..กระดิ่งทอง" จะเล่าถึงความรู้สึกสำหรับการสอบสารนิพนธ์ซักเล็กน้อย

และพูดถึง "สีดารีสอร์ท" ที่ตั้งอยู่ที่จังหวัดนครนายกแห่งนี้ด้วย

...ดังนี้ครับ...





ต่อไปนี้ก็เป็น "ข้อแนะนำ" จากท่านอาจารย์ที่ได้รับฟังเราแล้ว มีอะไรที่ต้องเพิ่มเติม และแ้ก้ไขจุดใดบ้างสำหรับการเขียนบทความ ณ. เล่มสารนิพนธ์

คุณน้อง และ คุณวิเศษ จะเล่าให้ฟังว่า ณ.จุดใดที่ต้องแก้ไข และ ผิดกันทั้งหมดแทบทุกคนเลย

การเขียนให้ถูกต้องนั้นเป็นสิ่งจำเป็น เพราะเป็นการ "เผยแพร่" ไม่ได้เก็บ "บนหิ้ง" ดังนั้นถ้าไม่ถูกต้องก็จะบ่งบอกถึงสถานที่ที่ได้ร่ำเรียนด้วย ..ดังมีชี้แจงตามนี้...





ภาพต่อไปนี้ สงสัย "คุณวิเศษ" จะเบลอหรือไม่ สอบถามว่า "น้อง..เมื่อเช้ามาอย่างไร" ก็นั่งรถมาด้วยกันแท้ ๆ "ลืม...กันได้" น่าจะ "หลงทิศ" เสียแล้วสำหรับพี่ท่าน

เรามีภาพ "ยืนยัน" ครับ แก้ตัวไม่ได้ ศาลตัดสินแล้ว "ผิด" อย่างร้ายแรงแก้ตัวไม่ได้ ...เว้นแต่... คนหน้าตาเหมือน (คล้ายที่เขาแก้ตัวกันน่ะ)....





ท้ายสุดนี้ ท่านอาจารย์กฤษดา และ ท่านอาจารย์สมเกียรติ มีคำแนะนำเกี่ยวกับการทำสารนิพนธ์ครั้งสุดท้ายว่าควรจะทำอะไรบ้าง เพราะเวลาก็เหลือน้อยเต็มทนแล้ว

ฉะนั้น...ท่านใดที่ยังเหลืออยู่เยอะ ก็ต้องเร่งกันยกใหญ่แล้ว ...รามาฟังอาจารย์ท่านกล่าวดีกว่า...





โชคดีทุก ๆ ท่าน ...จาก...กระดิ่งทอง...