วันศุกร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2553

ภาพที่ดูแล้ว ....สบายใจ....ดี

ช่วงเวลาของ "คน" เรา มีทั้ง "ทุกข์" และ "สุข" ปะปนกันไป แต่เมื่อได้เห็นภาพบางภาพแล้ว ทำให้ "สบายใจ" ก็ทำให้เราหา "ความสุข" ได้โดยไม่ยาก

และไม่เสีย "สตางค์" เยอะด้วย ถึงแม้บางภาพจะเป็นความเจ็บปวดของคนอื่นแต่เราดูแล้ว "ขำ" ก็ไม่เป็นอะไรน่ะ ลองมาดูครับ มีอะไรบ้าง


เริ่มต้นเรามาดู "เด็กชาย" คนหนึ่งที่เข้าไป "กราบ" เท้าในหลวงของเราแบบใกล้ชิด ซึ่งภาพนี้เป็นภาพที่กระผมปราบปลื้มและประทับใจมากครับ

ถือได้ว่าเด็กชายคนนี้มีบุญ ถ้าจะคิดย้อนไป จะคิดอย่างนี้ครับ รู้ได้อย่างไรว่าควรเข้าไปกราบท่านใด ปัจจุบันเด็กชายคนนี้ก็เป็นวัยกลางคนแล้วครับ


ภาพต่อไปเป็นการช่วยเหลือ "เพื่อนร่วมโลก" ของเราเองครับ ถึงแม้ว่าจะเป็นเพียง "สัตว์" ตัวเล็กแต่ก็มีชีวิตจิตใจ มีความกล้า ความกลัว หนาว เย็น เช่นกันครับ


ซึ่งที่แห่งนี้เป็นคลองชลประทานที่ส่งน้ำไปให้กับชาวนาเพื่อทำนาให้ได้อย่างน้อย 2 ครั้งต่อปี

มากกว่านั้นก็แต่กำลังกายที่จะทำได้ บ้างก็ทำได้ 3 ครั้งต่อปี และที่ทำได้มากกว่า 1 ครั้งต่อปีนั้นก็จะเรียกว่า "นาปรัง"


คลองแบบนี้ "ผู้เขียน" เองก็เคยลงเล่นครับ ยิ่งน้ำเต็มคลองก็จะสนุกสนานยิ่งนัก ซึ่งหลังเลิกเรียนหรือวันเสาร์วันอาทิตย์นี่ก็เล่นน้ำได้ ถ้าเป็นตอนเย็นแล้วด้วยนะ

เมื่อเล่นน้ำในคลองเสร็จก็ไม่ต้องอาบน้ำตอนเย็นแล้วครับ ถือว่า วันนี้ได้อาบน้ำแล้วเหลือแต่ "กินข้าวเย็น" แล้วก็ "นอน" เท่านั้น


สิ่งที่เด็กสองคนนี้ช่วยก็ช่วยด้วยใจจริงที่บริสุทธิ์ไม่ได้หวังผลตอบแทนใด ๆ ภายหลังทั้งสิ้น ซึ่งบางครั้งหรือบางคน "อาจจะ" คิดว่า ทำไมปัจจุบันนี้มันช่างเปลี่ยนแปลงไปจากในอดีตมาก มีลับลมคมในเยอะจัง


ภาพต่อมาเป็นการ "เล่นสนุก" ตามประสาเด็ก ๆ บ้านนอกอย่างเรา ซึ่งก็หาเล่นได้ตามธรรมชาติทั่วไป ไม่มีเสียสตางค์ครับ

ยามว่างเราก็จะเล่นด้วยกัน ยามที่มีงานก็ไปช่วยกันทำ เล่นน้ำก็ชวนกันไปเล่น ไม่มีการจ้าง มีแต่การพึ่งพาอาศัยกัน บางครั้งการเล่นก็ไม่มีผู้ใหญ่คอยดู ก็อาจจะทำให้เกิดเหตุได้

แต่เด็ก ๆ เองก็ระมัดระวังในการเล่นอยู่แล้วเป็นพื้นฐาน และเด็ก ๆ นั้นมักจะ "เชื่อ" คำสั่งสอนของผู้ใหญ่เป็นหลักและยึดมั่น ไม่มีการโต้เถียง และสิ่งแบบนี้เราจะเป็นเรื่องปกติในบ้านนอกคอกนาอย่างเรา


ภาพต่อมาเป็น "กลิ่นโคลนสาปควาย" นี่เป็นเรื่องจริงครับกลิ่นโคลนสาปควายนี่ใครไม่ได้สัมผัสจะไม่รู้ถึงรสชาดของมัน

หรืออีกคำหนึ่ง "กลิ่นไอดิน" ถ้าหลังจากฝนตกแล้วกลิ่นไอดินลอยขึ้นมานี้ทำให้นึกถึงบ้านนอกคอกนาเป็นยิ่งนัก ซึ่งน้ำใน "บ่อ" หรือ "หนองน้ำ" เล็ก ๆ แบบนี้เด็ก ๆ ก็สามารถที่จะเล่นน้ำได้ 

ผมเองก็เคยเล่น สนุกครับเมื่อเล่นกันหลายคน แต่เล่นแล้วก็ต้องไปอาบน้ำในสระหรือบ่อน้ำอีกรอบนะถึงจะถึอว่าสะอาด ซึ่งเจ้าทุยที่พาออกไปเลี้ยงตามท้องนามันคงจะบ่นว่า ทำน้ำข้าสกปรก ขุ่น แล้วข้าจะกินได้เหรอได้พี่

อันนี้เป็นเรื่องของ "ธุรกิจ" ครับ มีขึ้นและมีลงทำให้ "รวย" และ "จน" ได้ครับ















คนรวยเจอกับคนรวย
ครับงานนี้















คนซ้ายคือ "สตีฟ จ๊อบ" เจ้าของ I-Phone














คนขวามือ "บิล เกต" เจ้าของ "ไมโครซอฟ"

วันเสาร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2553

ภาพในอดีตที่หาดูยาก และเป็นความทรงจำมีอะไรบ้าง..... เรามาดูกัน

ภาพในอดีตหลาย ๆ ภาพที่เรา "ไม่เคย" เห็น เพราะนานแล้ว ซึ่งเป็นจริง แต่อาจจะถูกเผยแพร่ หรือไม่ได้เผยแพร่ก็ตาม

 มันอาจจะเป็น "บันทึก" ความทรงจำที่ดี หรือ อดีตที่ "ขมขื่น" (ก็ได้) สำหรับบางคน ในบางภาพ เห็นแล้วก็ ระลึกถึงสมัยเรายังเด็ก

บางภาพเห็นแล้ว ก็กระหยิ่มยิ้มย่องในใจ บางภาพเห็นแล้วก็ "งง" ในการกระทำ และสิ่งที่เกิดขึ้น 

....เรามาดูกันว่ามีอะไรบ้าง... ของเก่า ๆ ทั้งในไทยและทั่วโลกรวบรวมให้ดูได้ที่นี่ครับ Old century thailand‏ 

เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์ อดีต "นางเอก" หนังไทยของเราที่โด่งดังหรือ Hot hit มากในยุคนั้น

อาจจะกล่าวได้ว่า "ยุคใครยุคมัน"



รถยนต์ Tama เป็นรถยนต์ไฟฟ้าล้วน ๆ ของญี่ปุ่น ผลิตเมื่อปี 1947 วิ่งได้ระยะทางแรก ๆ นั้น 35 กม. ที่ความเร็วประมาณ 35 กม./ชม.

ภายหลังสามารถวิ่งได้ระยะทางถึง 200 กม./ชม. ต่อการชาร์ท แบตเตอรรี่เพียงหนึ่งครั้ง ที่ความเร็วเท่าเดิมคือ 35 กม./ชม. 

ซึ่งใช้วิ่งในสนามบินของญี่ปุ่นเป็นส่วนใหญ่ แบตเตอร์รี่เป็นชนิด ตะกั่วกรด ที่เหมือนปัจจุบันนี่เลย ภายหลังควบรวมกิจการกับ "นิสสัน" เมื่อปี 1952




นี่คือ ภาพของ 2 นักร้องลูกทุ่ง ดัง คนซ้ายมือคือ ยอดรัก สลักใจ  
คนขวามือคือ สายัญห์ สัญญา  



นี่เป็นภาพเมื่อเข้าวงการ "นักร้องลูกทุ่ง" สมัยแรก ๆ ตอนหลังนี้ เกิดความไม่เข้าใจกัน เพราะเวลาผ่านไป  

และปัจจุบันนี้ ยอดรัก สลักใจ ป่วยเป็นโรคมะเร็ง และได้...เสียชีวิตไปแล้ว... 
 
        กลุ่มรถไฟฟ้าทางยุโรปและอเมริกา

 







หนึ่งในจำนวนรถยนต์ ๖๗ ยี่ห้อของอเมริกาที่ช่วยกันผลิตขายเมื่อ ๑๐๐ ปี ที่แล้ว



















รถรางไฟฟ้าในยุคแรก ๆ เช่นกัน
                                    ระดับ "เจ้าขุนมูลนาย" เท่านั้นที่มีโอกาสใช้รถยนต์ได้      

ในยุคนั้น การขายรถให้กับใครไม่ใช่ว่าจะขายให้ได้ง่าย ๆ จะต้องตรวจสอบ "ชาติตระกูล" ด้วยว่า เหมาะสมจะขายให้หรือไม่ มีเงินซื้อจริงหรือ  แม้ปัจจุบันก็ยังมีบ้างในบางยี่ห้อ

   









ภาพแสดงตัวถังและโครงรถเมื่อสร้างเสร็จ

















อีกรูปแบบหนึ่งของรถยนต์ในยุคเดียวกัน

















นาย jay leno พิธีกรดังใน
อเมริกาพร้อมรถไฟฟ้าคู่ใจอายุร่วม 100 ปี










รถยนต์ในยุคแรก ๆที่ยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน















ป้ายโฆษณาราคาขายรถยนต์ในยุคนั้น















หนึ่งในต้นแบบรถยนต์ที่ขายเมื่อ 100 ปีก่อน














ภาพรถยนต์ในอดีต กับบ้านของคนมีเงิน 


















รถไฟฟ้าอายุ100 ปี ที่นาย jay leno พิธีกรดังใน อเมริกา ที่ครอบครองในปัจจุบัน และมีไม่กี่คันในโลกที่ยังวิ่งได้








ภาพเจ้าของรถยนต์ในอดีต
 











ลูกอม "ออลล์ " เราคงคุ้นเคยดี อมแล้ว เย็น สดชื่น ด้วยรส เมนโทลิปตัส 











รถเก๋ง "ฝอร์ด" ที่เข้ามาขายในเมืองไทย

รถยนต์ยี่ห้อนี้ถือได้ว่าเป็นรถสัญชาติ "อเมริกัน" อย่างแท้จริง


ในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำปี ๒๕๔๐ นั้น บริษัทรถของอเมริกันล้มเกือบทุกยี่ห้อ

แต่คนอเมริกันจะไม่ยอมให้รถยนต์ยี่ห้อ "ฝอร์ด" ของเขาล้มละลาย

ซึ่งถ้าจะล้มละลายจริงคนอเมริกันจะช่วยกันซื้อรถยนต์ยี่ห้อนี้ไว้ป้องกันไม่ให้บริษัทที่เป็น ตรา อเมริกันแท้ ๆ ต้องล้มละลาย


 


นี่คือรถยนต์ ดัทสัน รุ่น ช้างเหยียบ ครับ การโฆษณาเขาให้ "ช้าง" ขึ้นไปเหยียบบนกระบะรถเลย 


เพื่อให้เห็นว่า แข็งแรงมาก คนไทยก็เลยเรียกตามสรรพนามที่เห็นคือ ช้างเหยียบ















โทรภาพยี่ห้อ "โซนี่" ในยุคแรก ๆ นั้นจะเป็นโทรภาพ"ขาวดำ" (ยังมีมีโทรภาพสี)

บ้านใครที่มีโทรภาพนะจะถือได้ว่า "ร่ำรวย" น่ะ เนื่องจากเป็นรุ่นใหม่และราคาแพงมาก

และชาวบ้านก็จะมารุมล้อมดูโทรภาพที่บ้านด้วย ซึ่งเป็นการสนุกนะ และก็ไม่มีไฟฟ้าใช้เหมือนปัจจุบันนี้ซะด้วย

จะต้องใช้ไปจาก "แบตเตอร์รี่" ของรถยนต์โน่นแน่ะ ตอนกลางวันก็ต้อง "ชาร์ท" ไฟไว้ให้เต็ม


ถ้าเทียบไปก็สมัยก่อนจะดู "หนัง" แต่ละครั้งนะคุณ ต้องรอ "หนังกางแปลง" มาฉายให้ดูจึงได้ดูหนังกัน

เมื่อหนังมาฉายก็จะหอบกันไปดูกันทั้งหมู่บ้านเลย เด็ก ๆ ในช่วงแรกก็เดินไปเพราะตื่นเต้นและคึกคักที่จะได้ดูหนัง แต่พอหนังจบแล้ว เด็กง่วงแล้วนี่ ผู้ที่เป็นพ่อ-แม่ต้องอุ้มกลับครับ เพราะดึก







วิทยุ ในขณะที่เกี่ยวข้าว ดำนา ถ้าใครเปิดวิทยุเสียงดัง ๆ นี่ เป็นการ "อวด" กันด้วยนะ

แม้ยี่ห้อวิทยุนี้ "แจ๋ว" แฮะ ดังดีจัง และที่เปิดนะก็จะเป็น "ละคร" ซะมาก ที่ดัง ๆ จนถึงปัจจุบันก็จะเป็นคณะ "เกตุทิพย์"

ซึ่งเป็นการสนุกสนานเฮฮาและมีความสุขครับ ก่อนนั้นจะราคาประมาณ ๓๐๐ บาท ซึ่งปัจจุบันก็ราคานี้แหละ ..ถ้าหาได้นะ..














โทรทัศน์ และ วิทยุ ในยุคแรก ๆ ที่เป็น "ทรานซิสเตอร์" ก่อนนั้นเป็น "หลอดสุญญากาศ" 

เมื่อเป็นระบบ "ทรานซิสเตอร์" แล้วจึงทำให้ขนาดเล็กลงได้เยอะมาก กรอบหรือโครงนั้นส่วนใหญ่จะทำจาก "ไม้" เพราะมีเยอะ



























        ภาพน้ำท่วม "กรุง" หรือ กทม.

















เป็นปราสาทเก่า ซึ่งก็ไม่ทราบที่ตั้งเช่นกัน

















 แชมภู (ยุคนั้นยังใช้คำว่า "ภู" แบบนี้ ปัจจุบันใช้ "พู" นี้แล้ว)

 เป็นสินค้าที่ใช้สำหรับ "สระผม" ยี่ห้อที่ใกล้เคียงกันมียี่ห้อ "ดิฉัน"


















 





                   


                      น้ำอัดลมยี่ห้อ มิรินด้า 





















ภาพ "ศูนย์การค้าสยาม" และบริเวณรอบ ๆ ในอดีต





















       ภาพสถานีรถไฟ "หัวลำโพง"


โฆษณา รถจักรยานยนต์ ยี่ห้อ ยามาฮ่า ยุคนั้นจะเป็นเครื่องยนต์แบบ 2 จังหวะ เป็นส่วนใหญ่ 

ซึ่งถ้ารายใดออกเครื่องยนต์แบบ 4 จังหวะมา จะไม่ค่อยมียอดขายซักเท่าไร นั่นเพราะชิ้นส่วนของเครื่องยนต์เยอะ 

คนที่ไม่เข้าใจด้านเครื่องยนต์จะ "ซ่อมยาก" หรือ "งง" เป็นไก่ตาแตก 

และอีกอย่างขณะสตาร์ทก็หนักแรง ต้องออกแรงถีบคันสตาร์ทเยอะมาก 

เรียกได้ว่า ถ้าให้ผู้หญิงถีบคันสตาร์ทเครื่องยนต์ชนิด 4 จังหวะนะ ไม่(ค่อย)ติดหรอก จึงไม่ค่อยได้รับความนิยม และสมัยก่อนนั้น เครื่องยนต์จะ "ทนไม่มาก" ซักเท่าไร








เครื่องดื่มกระทิงแดง "ซู่ซ่า" อีกแล้ว นี่คือ "สโลแกน" ของเครื่องดื่ม "กระทิงแดง"


ในอดีตที่โฆษณาในเมืองไทยเรา ในภาพนี้คือการดัดแปลงทางความคิดโดยนำเอา "กระทิงแดง" มาผสมกับ "เหล้าขาว" แล้วจะทำให้รสชาดของเหล้าดีขึ้นไปอีก แถมยังได้กำลังด้วย ...นะ.....













ร้านถ่ายรูป เกือบร้อยปีก่อนจะไม่ค่อยได้รับความนิยมมากในเรื่องการ "บันทึกภาพ" ได้ดู

ซึ่งจะเป็นเสมือนว่า "แช่ง" ตัวเองให้ตายโดยการถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึก

ต้องใช้เวลานานครับจึงเป็นที่ยอมรับว่าเป็นการบันทึกประวัติศาสตร์ไว้ดูไม่ใช่การแช่งอย่างที่เข้าใจกัน และก็แพงด้วยสำหรับการทำกิจกรรมนี้

ดังนั้น เราจึงไม่ค่อยได้เห็นภาพในอดีตที่เป็นของคนไทยเราเองมากนัก




ต่อไปเชิญท่านชม "ภาพเคลื่อนไหว" ขอรับ







วันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2553

คำที่อาจจะ "คม" หรือ "ให้แง่คิด" ในยามที่เราลืม หรือ ว่างเปล่า

บ่อยครั้งที่ "นาย กระดิ่งทอง " มักจะนึกถึงผระโยคที่ประทับใจ หรือ "คำร้อยแก้ว" ที่มักถูกนำมาเปรียบเปรยกับสิ่งของต่างๆ บนโลกนี้

หรือไม่ก็นำมาเปรียบเทียบกันสินค้าต่าง ๆ ดังเช่น ของดีไม่มีถูก และ ของถูกก็ไม่ใช่ว่าจะไม่ดีเสมอไป ฉันใดก็ฉันนั้น และก็จะไม่มีสิ่งที่ดีที่สุดในโลกด้วย มีแต่เหมาะสมกับเวลา ณ. ปัจจุบัน นั้น ๆ

หลาย ๆ สิ่ง หลาย ๆ อย่าง หรือแม้แต่ หลาย ๆ คน ยังไม่เข้าใจว่า ธรรมชาติเป็นอย่างไร เราฝืนธรรมชาติได้ แต่ "ไม่หมด"

บางครั้ง การฝืนมาก ๆ จะต้องใช้เงินเยอะ เลยหันมาเรียนรู้ "ก่อน" หรือ "เท่าทัน" ธรรมชาติ แล้วหาวิธี "หลีกเลี่ยง" หรือ "ป้องกัน" (ถ้าทำได้) จะใช้เงินน้อยกว่า

ซึ่งก็จะเข้าตามหลัก "เศรษฐศาสตร์" เลย ที่ว่า ใช้เงินให้น้อยที่สุดและได้ประโยชน์มากสุด หรือ ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด

แน่นอนว่า สิ่งของที่เรา "ขุด" มาจากพื้นโลกนั้น บางสิ่งย่อมมีวัน "หมด" ดังเช่น น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ แต่บางสิ่งก็ "ไม่หมด" เพราะสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เช่น เหล็ก , ทองคำ








คำเหล่านี้เราอาจจะนึกไม่ถึง หรือ ไม่เคย "แม้แต่" ได้ยินเลย เมื่ออ่านแล้วอาจจะ "สะดุด" คิดได้เช่นกัน