วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ทำบุญ "กุดน้ำใส" จังหวัดขอนแก่น

วันที่ 26-27 พฤษภาคม 2555 นาย..กระดิ่งทอง..มีโอกาสไปทำบุญกับท่านอาจารย์สมเกียรติ จงประสิทธิ์พร รวมทั้งคุณวิเศษ โกรัตนะ และครอบครัว

ขณะที่เรียน ป.โท ท่านอาจารย์ยังเป็น "ที่ปรึกษาในการทำวิทยานิพนธ์" ให้กับเราทั้งสองอีกด้วยครับท่าน


...และท่านอื่น ๆ ที่ไปร่วมงานทำบุญครั้งนี้ ซึ่งเดินทางจาก..กรุงเทพมหานคร..มีด้วยกันหลายท่าน

เช่น คุณใหม่..คุณซัน,พี่อารักษ์ ส่วนท่านอื่น  ผมก็จำชื่อได้ไม่หมด (ต้องขอ..อภัยเป็นอย่างสูงเลยขอรับ)


ท่านเหล่านี้จองที่พักของการไฟฟ้าของเขื่อนอุบลรัตน์  ตอนที่เล่าให้ฟังนั้นบอกว่า  บรรยากาศสวยมาก

...แถม...เฉลี่ยค่าห้องกันคนละประมาณ 50 บาท อีกซะด้วย


คุณใหม่บอกว่า..ก็ใช้สวัสดิการของการไฟฟ้าจากเพื่อนสมาชิก X-mie เรานั่นแหละ


สถานที่ที่ได้เลือกไปทำบุญนั้นก็คือ สำนักสงฆ์สามัคคีศิลาวัน ซึ่งตั้งอยู่ที่ ต.กุดน้ำใส อ.น้ำพอง จังหวัดขอนแก่น


คำว่า "กุด" นั้นเป็น "ภาษาอีสาน" โดยแท้ หรือ "ภาษาลาว" ก็ว่าได้ แปลว่า "บ่อ" หรือ "บ่อน้ำ" หรือ "ส่าง" ในภาษาอีสานปัจจุบันนั้นเอง

กุดน้ำใส จึงแปลความหมายได้ว่า บ่อน้ำที่ใส (ไม่ขุ่น)  โดยบ่อน้ำ...จะใช้ทั้งดื่มกินและอาบน้ำหรือซักผ้า  ลองนึกภาพว่า

อดีตนั้นคนทั้งหมู่บ้านตอนเย็นเวลาอาบน้ำจะรวม ๆ กันมาอาบน้ำด้วยกัน ซึ่งจะสนุกสนานมาก

คำว่า "กุด" จะซ้ำกับอีกคำหนึ่งคือแปลว่า "กุฏิ" ซึ่งเป็นที่พระท่านไว้พำนักอาศัย  แต่ คำว่า "กุด" นี้จะอธิบายเกี่ยวข้องกับคำว่า "กุดน้ำใส" เท่านั้น

การทำบุญครั้งนี้ผู้ที่ "ริเริ่ม" คือท่านอาจารย์สมเกียรติ จงประสิทธิ์พร ท่านอาจารย์ปรารถนาจะทำบุญไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะไม่มีแรง (ว่างั้นเถอะ) และท่านอาจารย์ทำบุญมาหลายที่มาก ซึ่งก็ได้ศิษย์ยานุศิษย์ให้แรงสนับสนุนร่วมอีกหลายแรง

ท่านอาจารย์สมเกียรติ จงประสิทธิ์พร สอนวิชาสถิติที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม

ฉะนั้น  ท่านอาจารย์จึง "เก่ง" ในเรื่อง "สถิติ" มาก ๆ สามารถนำวิชาสถิติมาใช้สำหรับการเรียนการสอน และนำมาใช้กับชีวิตประจำวัน หรือแม้แต่นำสถิติมาใช้ร่วมกับงานได้ตรงมากที่สุด

วันที่จะเดินทางไปนั้น ผมนัดกับครอบครัวคุณวิเศษ หรือ "พี่เอ๋" ของผม โดยจะเดินทางวันเสาร์เช้าซัก 06:00 น.

..แต่..  มีเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้น นั่นคือ ทราบข่าว "คุณยายเสียชีวิต" ดังนั้นคุณวิเศษ จึงต้องเดินทางไปงานศพคุณยายที่จังหวัดอยุธยาในวันศุกร์ แล้วจึงไปทำบุญที่ อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น อีกทอดหนึ่ง

ฉะนั้น...กระดิ่งทอง..จึงต้องขับรถยนต์ไปทำบุญคนเดียวตามที่ได้นัดหมายไว้ คือบ้านกุดน้ำใส  เส้นทางที่ขับรถไปนั้นเป็นช่วงหน้าฝนด้วย จึงทำให้ต้นไม้สองข้างทาง "เขียวชอุ่ม" มองแล้วสบายสายตายิ่งนัก

แหละ..เพลิดเพลินกับสิ่งก่อสร้างที่แสดงให้ทราบถึงการพัฒนาที่รวดเร็วทางด้านวัตถุ ทั้งบ้านเรือน และปั๊มแก๊สทั้ง CNG และ LPG  โดยเฉพาะปั๊มชนิดหลังนั้นมีมาก..อย่างดาดดื่น  บางปั๊มเพียงเติม LPG แค่ 100 บาท แถมน้ำดื่มขนาด 1.5 ลิตรให้ด้วย (การแข่งขันสูง)

ระหว่างทางนั้น ผมเองพบเห็นกับอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นทั้งเล็กและใหญ่เฉพาะ "ขาไป" รวม 4 เหตุการณ์ด้วยกัน

บางแห่งก็ทั้งถนนที่เปียกปอน ทำให้ขณะเบรครถ "อาจจะ" ลื่นไถล หรือบางที่ "เบียด" กันลงข้างทางทั้งคู่ ไปรวมกันอยู่ในคลองก็มี  ทั้งนี้เกิดขึ้นเพียง "เสี้ยววินาที" เท่านั้น

ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นได้ทั้ง "ขับรถเร็ว" และ "ไม่เร็ว" โดยส่วนใหญ่จะใช้คำว่า "คาดไม่ถึง" หรือ "คาดเกิน"

ภาพที่ปรากฎด้านข้างซ้ายมือนั้น สถานที่คือทางขึ้นเขาปักธงชัย (วิ่งจากระยองไปขอนแก่น) เป็นรถพ่วงที่ตกข้างทางขณะขึ้นเขา  ผมยัง "งง ๆ"  กับเหตุการณ์ว่า เกิดขึ้นได้อย่างไร ส่วนใหญ่จะเกิดขณะขับรถยนต์ลงเขา


ระหว่างทางที่ขับรถไปทำบุญพบว่า รถยนต์ส่วนใหญ่ของเมืองไทยนั้นจะ "ขับรถชิดขวา" และก็ "แซงซ้าย" ซึ่งเมืองไทยจะเป็นรถที่มีพวงมาลัยอยู่ด้านขวามือ

ดังนั้น..ต้องขับชิดซ้ายแซงขวาแน่ ๆ แต่ในความเป็นจริงต้องขับชิดขวาและแซงซ้าย  ทำให้ผม "งง" ว่ากำลังขับรถใน "ประเทศลาว" หรือเปล่าเนี๊ยะ

เท่าที่สังเกตุ..ก็อาจจะเป็นจากถนนด้านซ้ายมือไม่ค่อยดีนัก  ก็ยังพบว่าเมื่อถนนด้านซ้ายดี..ก็ยังขับเลนขวาเช่นเคย

ลองชมภาพจริงดูกัน ขณะที่บันทึกความเร็วประมาณ 118 กม./ชม.  ขับก็ไม่เร็วมาก  เพราะ CNG ก็แพง และหาเติมยากซะด้วยสิ ทั้งเวลาก็กระชั้นชิด จะถึงเวลานัดหมายแล้วด้วย



ขณะที่ไปถึงวัด ท่านอาจารย์สมเกียรติ ถึงที่หมายก่อนแล้ว เวลาประมาณซัก 17:13 น. ระหว่างเส้นทางฝนก็ตกมากอีกด้วย บางช่วงฝนตกหนักถึงกับต้องขับช้ามาก ๆ

ห่างกันนิด ๆ คุณวิเศษก็เดินทางมาถึง เราจึงได้สนทนากับท่านอาจารย์บ้างเล็กน้อย


           ..เรามาชมภาพที่ได้สนทนากับท่านอาจารย์กันเลย ..



คุณวิเศษ ..ขับรถยนต์จากขอนแก่นมา..กุดน้ำใส อ.น้ำพอง คนเดียวครับ  ลูก..เมีย ขอท่องเที่ยวห้างเซ็นทรัลในเมืองรอก่อนละกัน รุ่งเช้าจึงจะมาทำบุญด้วย  จึงเห็นว่า "โสด" ในเย็นวันนั้น

เราได้เที่ยวชมบรรยากาศ ของ "บ้านนอก..คอกนา" ไปเรื่อย ๆ จนมืด

การต้อนรับก็เป็นไปด้วยดี มีอาหารและวงสนทนาแบบชาวบ้าน ทำให้ "อบอุ่น" อย่างบอกไม่ถูก

ด้วยการต้อนรับที่เป็นแบบ "บ้าน ๆ" ทำให้นึกถึงประเพณีของคนไทยที่กล่าวว่า "แขกมาถึงบ้านถึงเรือนต้องต้อนรับ" 


หมู่บ้านก็ไม่ใหญ่มาก โตกว่าหมู่บ้านจัดสรรค์เพียงเล็กน้อย แต่รู้จักกันทั่วถึง น้ำใจไมตรีที่ดีต่อกันทำให้ความสัมพันธ์ก็มีมากยิ่งขึ้น

 จวบจนกระทั่ง 20:34 น. เราจึงเดินทางเข้ากรุงเำพื่อพักผ่อน รอรุ่งสางต้องเดินทางมาวัดอีกครั้งเพื่อทำบุญอย่างเป็นทางการ


ค่ำคืนนั้น กระผมเอง,ครอบครัวคุณวิเศษรวมทั้งท่านอาจารย์อาจารย์และญาติ ๆ กลับมานอนพักผ่อนในตัวเมืองขอนแก่น

กระผมเองรวมทั้งท่านอาจารย์สมเกียรติและญาติๆ ของท่านอาจารย์นอนที่โรงแรงโฆษะ ส่วนครอบครัวคุณวิเศษนอนโรงแรมใกล้เคียงเพราะต่างคนต่างจองห้องพักไว้ สนนราคานั้นสำหรับเตียงคู่ก็ 1,500 บาท พร้อมกับอาหารเช้า (รูปห้องจริง)


กระผมเองก็เดินท่องเที่ยวกับสถานที่ใกล้ ๆ โรงแรมเรื่อย ๆ ไปเจอบริเวณหน้าตึกคอมขอนแก่นกำลังมีงานประกวดดนตรีสำหรับประชาชน เป็นที่สนใจของประชาชนโดยทั่วไป

แต่อาจจะดูบางตาเพราะว่าขณะนั้นฝนก็ตกปรอย ๆ ทำให้บริเวณที่นั่งไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามที่ออกแบบไว้

คณะกรรมการและผู้ชมก็สู้ไม่ถอยอยู่ให้กำลังใจกันจนวินาทีสุดท้าย

ผู้คนจึงต้องหลบฝนด้านข้าง วงดนตรีที่เข้าประกวดสำหรับคืนนั้นมีจำนวน 21 วง ด้วยกัน ซึ่งได้คัดกรองจากหลายคืนมาแล้ว

ดังนั้น  จึงทำให้อรรถรสสำหรับการประกวดน่าชมยิ่งขึ้น

แทบทุก ๆ วงที่เข้าประกวดมีเอกลักษณ์และการนำเสนอที่น่าสนใจทุก ๆ วงเลย  เป็นที่น่ายินดียิ่งที่เยาวชนไทยให้ความสนใจเกี่ยวกับดนตรี รวมทั้งฝีไม้ลายมือขณะเล่นดนตรีก็ "เยี่ยม" มาก

โดยเฉพาะวงดนตรีที่มีนักร้องหญิงที่น่ารัก จะได้รับความสนใจเป็นพิเศษ ทำให้เป็นสีสันของการประกวดดนตรีขึ้นไปอีก ทำให้ผู้ชมและผู้เข้าประกวดต่างสนุกสนานร่วมกัน

การจัดกิจกรรมแบบนี้เป็นที่น่า "ชื่นชม" และสามารถคัดนักดนตรีรุ่นใหม่เข้าสู่วงการได้อีกทางหนึ่ง ดังนั้นเราอาจจะเป็นการจัดประกวดดนตรีแบบนี้อยู่ทั่วไปของประเทศไทย

 สำหรับกลุ่มวัยรุ่นที่ชื่นชอบวงใด หรือวงดนตรีใดขึ้นประกวด ก็จะออกไปให้กำลังใจกันกลางสายฝน ทำให้ผู้เข้าประกวดไม่เหงา และสนุกยิ่ง ๆ ขึ้นเพราะได้กำลังใจจากเพื่อน ๆ นั่นเอง


สำหรับภาพที่ได้บันทึกมาด้านล่าง เป็นของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นเอง นำเสนอเสียงเพลงใน "แนวร๊อค" ซึ่งได้กำลังใจจากเพื่อน ๆ กลางสายฝนเป็นอย่างมาก เพราะสถานที่ก็ตั้งอยู่ใกล้กับมหาวิทยาลัยขอนแก่นนั่นเอง

           ...ชมภาพกันเลยละกัน...ขอรับ


รุ่งเช้าที่วัด...ชาวบ้านในระแวกนั้นต่างมารวมกัน ก็ไม่มากเท่าไร เพราะเป็นช่วงเดียวกันที่หมู่บ้านมี "งานบุญบั้งไฟ"

ฉะนั้น..ครึ่งหนึ่งจึงต้องไปร่วมงานบุญบั้งไฟด้วย  ก็หวั่น ๆ เช่นกันว่าบั้งไฟจะตกใส่กระบาลหรือไม่ เพราะบั้งไฟมันบังคับทิศทางไม่ได้เมื่อขึ้นสู่ท้องฟ้าแล้ว
 

จุดประสงค์ของท่านอาจารย์ต้องการจะสร้าง "สถูป" หลังนี้ให้สำเร็จ โดยงบประมาณที่ได้ตั้งไว้นั้นประมาณ 300,000 บาท

ด้านล่างจะเป็นคล้าย ๆ ห้องสมุด หรือที่เก็บหนังสือพระไตรปิฏกและหนังสือต่าง ๆ ที่มีคุณค่าแก่การเรียนรู้

ด้านบนจะเป็นพระพุทธรูปยืนโดยทั่วไปเป็นพระพุทธรูป "ปางห้ามญาติ" และมีบันไดเดินขึ้นสู่ด้านบนด้านหน้า

ขณะนี้ฐานของสถูปนั้นเสร็จก็เยอะแล้ว เพียงแต่ยังไม่สมบูรณ์เพราะรองบประมาณเพื่อมาต่อยอดอีก


ผู้ที่ทำหน้าที่รับผิดชอบเรื่องอาหาร,สถานที่,หรื่อเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทอดกฐินในครั้งนี้คือ "พี่อ๊อด" ครับ

ซึ่งพี่อ๊อดก็ได้เล่าเรื่องราวต่าง ๆ ของหมู่บ้านตั้งแต่ในอดีตให้กับกระผมฟังจนนึกภาพในอดีตออก  ทั้งนี้ทั้งนั้นพี่อ๊อดเองเป็นคนอีสานบ้านเฮานั่นแหละ ดังนั้นการ "เสวนา" จึงเป็นได้อย่างราบรื่น

ต้องขอขอบพระคุณเป็นอย่างมาก ซึ่งท่านอาจารย์สมเกียรติ ท่านก็ไว้เนื้อเชื่อใจสำหรับการทำงานชิ้นนี้เป็นอย่างมาก

ช่วงเช้าจนถึงสาย ๆ หลังจากรวมตัวกันได้สักพัก ชาวบ้านและบุคลากรที่ไปร่วมงานก็รับประทานอาหารว่าง กันไปเรื่อย ๆ พร้อมทั้งจัดตั้งกองผ้าป่าเพื่อที่จะ "แห่รอบโบสถ์" ก่อนถวายวัด

จวบจนใกล้ "เพล" (ก่อนเที่ยง) แล้วเราก็ต้องให้พระท่านฉันเพลเสียก่อน ส่วนคนที่จัดกอนกฐินก็จัดกันไป เมื่อพระท่านสวดมนต์เสร็จก็ถึงเวลา "ประเคน" อาหารให้กับพระท่านเพื่อที่จะได้ "ฉันเพล"

เมื่อพระท่านฉันเพลเสร็จแล้วก็เป็นหน้าที่ของ "ฆาระวาส" หรือบุคคลที่ไปร่วมทอดกฐินในงานต้องรับประทานอาหารเที่ยงหลังจากได้รับพรจากพระเรียบร้อยแล้ว

"วงกับข้าว"ลักษณะนี้กระผมเองก็ไม่ค่อยได้เห็นนานแล้ว เป็นความอบอุ่นของชาวไทยยิ่งนัก มีความปรองดอง และเป็นกันเอง

โอกาสที่จะได้เห็นการนั่งทานข้าวแบบชาวบ้าน ๆ อย่างนี้ในเมืองมีน้อยมากนัก  โดยเฉพาะ "ครอบครัวของ..พี่เอ๋..นั้น" นั่งทานข้าวแบบได้อรรถรสเป็นอย่างมาก คงจะเอร็ดอร่อยกับรสชาดของอาหารพื้นบ้านเป็นแน่แท้

อาหารการกินนั้นก็แบบ "ง่าย ๆ" และ "บ้าน ๆ" ที่เรารู้จักและขาดไม่ได้นั้นคือ "ส้มตำ" กับ "ข้าวเหนียว" อาหารประเภทนี้ภาคอีสานขาดไม่ได้แน่นอน และ "อร่อย" ด้วยซี

ส้มตำของคนอีสานที่ตำเองนั้นเครื่องปรุงไม่มากเหมือนที่เรากินตามข้างถนนหรือร้านนอกเหนือจากภาคอีสานหรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ซึ่งพิจารณาที่สีแล้วน่าจะ "จีดชืด" แต่เมื่อได้ลิ้มรสแล้ว "สุดยอด" มากครับ

สำหรับ "คุณใหม่" นั้น  ดูที่ท่าทางการนั่งรับประทานอาหารแล้ว "ถูกใจ" ผมเป็นยิ่งนัก  ยิ่งคนที่นั่งทานข้าวร่วมกันเยอะ ๆ ความอร่อยก็จะบังเกิดขึ้นเอง

...เวลาที่มี "งานบุญ" อย่างนี้ชาวอีสานบ้านเฮาจะร่วมแรงร่วมใจกันทำงานหรือทำบุญแบบเต็มใจ ไม่มีค่าแรง ช่วยกันคนละนิดคนละหน่อยงานก็เสร็จลุล่วงได้ด้วยดี เพราะถือว่า "ได้บุญ" กันทุก ๆ คน

เพราะว่าทำบุญให้กับวัดของหมู่บ้านตัวเอง บุญกุศลนั้นก็ยิ่งทำให้อิ่มเอิบในจิตใจขอคนที่มาทำบุญเอง
ยิ่งกับ "พี่อารักษ์" แล้วด้วย ไม่ต้องบรรยายครับ เป็นของที่ "ถนัด" เอามาก ๆ บรรยากาศแบบนี้พี่อารักษ์ของเรายิ่งชอบ ได้บรรยากาศชื่นมื่นแบบบ้าน ๆ ดี (ท่านกล่าวปิดท้าย)

งานบุญไม่ว่าจะเป็น "ทอดผ้าป่าสามัคคี" และหรือ "ทอดกฐิน" นั้น สำหรับชาวอีสานแล้วเป็นงานที่ถือว่า "งานใหญ่และได้บุญมาก ๆ" 

ซึ่งเราเห็นว่าจะมีผู้หลักผู้ใหญ่ทุก ๆ ท่าน รวมทั้งหนุ่มน้อยหนุ่มใหญ่ในหมู่บ้าน ที่ว่างเว้นจากงานหรือไม่ว่างก็ต้องทำตัวให้ว่างเพื่อจะมางานแบบนี้ให้ได้ นั่นก็เพราะว่าจะมีงานแบบนี้เพียงปีละครั้งเท่านั้น

ความสนุกสนานที่ได้รวมตัวแบบเยอะ ๆ เช่นนั้นมีไม่บ่อยนัก ได้พูดคุยเรื่องต่าง ๆ ในหมู่บ้าน เรื่องงานอื่น ๆ ที่ใกล้จะทำต่อไป

หรือเรื่องบุญต่าง ๆ ,เรื่องนาใครได้ข้าวมากและน้อยอย่างไรก็จะได้พูดคุยกันในงานเช่นนี้ไปด้วยในคราเดียว

ยิ่งไปกว่าคือ คนที่จะเป็นเจ้าภาพสำหรับการหาเงินมาถวายวัดหายากยิ่งนัก และ ประเภทไม่ต้องหักค่าต่าง ๆ สำหรับการเดินทางด้วยแล้ว ยิ่งหายากเข้าไปอีก

เพราะส่วนใหญ่ก็จะมีค่ารถ,ค่าเดินทาง,ค่ากินระหว่างทาง ..แต่..สำหรับงานนี้ ไม่หักค่าใช้จ่ายใดๆ ในส่วนนี้เลย (ออกเองว่างั้นเถอะ) เพราะตั้งใจไปถวายเงินสำหรับกอบผ้าป่าแบบเต็ม ๆ 

เมื่อรับประทานอาหารเสร็จและเตรียมกองผ้าป่าเสร็จแล้ว  จากนั้นถึงเวลาที่ต้อง "แห่ผ้าป่าสามัคคี" รอบโบสถ์กันแล้ว

เราจึงเวียนรอบโบสถ์ก้นสามรอบ เพื่อปฏิบัติให้เหมือนกับประเพณีที่ได้ดำเนินต่อ ๆ ก้ันมาจาก ปู่,ย่า,ตา,ยาย ที่ได้ฝากไว้เป็นวัฒนธรรมให้เราสืบสานปฏิบัติกันมา

ขณะที่แห่ผ้าป่าสามัคคีนั้น ก็ต้องเปิด "เพลงบรรเลง" ประเภท "พิณ" ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะครบ 3 รอบ ทำให้บรรยากาศการแห่ผ้าป่าสนุกสนานเป็นยิ่งนัก เพราะชาวบ้านได้ "ฟ้อนรำ" ไปเรื่อย ๆ

จึงถือได้ว่า งานแบบนี้ทั้ง "สนุกสนาน" และ "ได้บุญ" ไปด้วยในคราเดียวกัน และช่วงที่กำลังแห่ผ้าป่าอยู่นั้น กรุณา "อย่า" ทำให้เสียงเพียงต้องหยุดชะงักกลางครันนะ "เดี๋ยวโกรธ" เป็นแน่แท้

เมื่อแห่ผ้าป่าสามัคคีรอบโบสถ์ครบจำนวนสามรอบแล้ว  บัดนี้ก็นำกองผ้าป่ามารวมกัน เพื่อรอถวายกับพระสงฆ์

ภาพจากที่ได้บันทึกไว้นั้น ช่างเป็นภาพที่ตกแต่งได้สวยงามเป็นยิ่งนัก เราได้กองผ้าป่าตั้งหลายต้น ซึ่งก็ได้มาจากหลายสายด้วยกัน

สำหรับกองผ้าป่าที่ได้มากที่สุดนั้นเป็นของท่านอาจารย์สมเกียรติ


เมื่อนับรวมกันทุก ๆ กองแล้ว ได้เงินรวมกันจำนวนประมาณ 280,000 บาท  ...และแล้ว...ก็มีบางท่านเอ่ยขึ้นว่า ...ควรจะเติมให้เต็ม หมายถึงเติมให้เต็ม 300,000 บาท

ฉะนั้น  จึงต้องออกแรงกันอีกหน่อย เติมคนละนิดคนละหน่อย  รวม ๆ นับแล้วก็ยังได้ 292,000 บาท  ขาดอีก 8,000 บาท

เท่าที่สังเกตุ (ถ้าผมจำไม่ผิดนะครับ)  ผมเห็นพี่อารักษ์ "ควัก" ส่วนที่เหลือ 8,000 บาท จึงรวมได้ 300,000 บาท พอดิบพอดี

หลังจากนั้นท่านอาจารย์สมเกียรติ จงประสิทธิ์พร จึงประเคนผ้าไตรให้กับพระสงฆ์ สำหรับท่านอื่น ๆ ก็ช่วยกันรวบรวมเงินจากของแต่ละฝ่ายให้เรียบร้อย

ชมภาพประกอบขณะประเคนผ้าไตร..ได้เลยครับ


สำหรับ "คุณซัน" นั้น เมื่อนับจำนวนยอดเงินที่ได้มาจากการทำบุญของสายท่านอาจารย์สมเกียรติแล้ว ก็เดินออกมาพักผ่อน เมื่อเจอะเจอกับผม ได้พูดคุยกันอยู่ัพักหนึ่ง

ก็ยัง "อัธยาศัย" ดีเช่นเคยล่ะครับสำหรับท่านนี้


หลังจากนั้น กระผมจะขอถ่ายภาพเพื่อบันทึกเป็นความทรงจำกับการทำบุญครั้งนี้หน่อย  คุณซันก็ยกมือขึ้นทันที  ไม่ทราบว่ามี "ความนัย" อะไรหรือไม่  ซึ่งผมตีความเกี่ยวกับ "แหวน" ที่นิ้วนางนะ

ผมแค่จะถ่ายภาพคุณซัน...เท่านั้นเอง...ขอรับ  ส่วนแหวนก็อยู่ของมันอย่างนั้นแหละ ...เฮ้อ  จึงได้ภาพมาให้เห็นเท่านี้แหละ


หลังจากนั้น "หลวงพ่อ" ท่านได้ "ประพรมน้ำมนต์" ให้กับเหล่าประสกนิกรที่เดินทางมาทำบุญกับวัดในครั้งนี้ เพื่อความเป็นสิริมงคลกับทุก ๆ คน สำหรับที่ต้องเดินทางมาไกลก็ขอให้เดินทางด้วยความปลอดภัย สำหรับคนที่อยู่ใกล้ก็ให้ "แคล้วคลาด" จากสิ่งที่เป็นภัยทั้งปวง



ก่อนจากกัน หลวงพ่่อก็ไม่มีอะไรให้เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจ และความหมายของศาสนาพุืทธ หลวงพี่จึงได้มอบสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ กับทุก ๆ คนที่มาร่วมงาน

อย่างเช่น พระองค์เล็ก 1 องค์ สายสิณผูกมัดข้อมือ ผ้าขาวม้า และ หมอน เพื่อเป็นสิ่งตอบแทนกับผู้ที่มาทำบุญ



ในภาพด้านซ้ายมือนี้ก็คือ "คุณใหม่" แห่ง X-mie 12 คร้บที่ได้รับมอบสิ่งของจากหลวงพ่อเพื่อเป็นสินน้ำใจจากคนที่เดินทางมาไกล

และีอีกภาพทางด้านขวามือคือ "พี่อารักษ์" แห่ง X-mie 12 เช่นกันครับ  ซึ่งกำลังให้ผู้หลักผู้ใหญ่ "ผูกผ้าขาวม้า" คาดเอวให้โดยเฉพาะเลย

นับว่า "อิ่มเอิบ" ทั้งกายและใจกันทุก ๆ คน


สำหรับครอบครัวของคุณวิเศษ  สนุกสนาน และเป็นปลื้มกับการทำบุญครั้งนี้มาก เพราะได้ท่องเที่ยวด้วย ได้ทำบุญด้วย และเดินทางไกลด้วย

เท่าที่ได้พูดคุยกันนั้นพี่ท่านก็อยากมีกิจกรรมทำบุญกับท่านอาจารย์อย่างนี้อีก   งานหน้าเป็นงานที่ "สนใจ" เป็นอย่างยิ่งเพราะได้เดินทาง "ไปต่างประเทศ" ด้้วย

ท่านอาจารย์วางแผนไว้ว่า จะไปทำบุญที่ประเทศลาว  พี่ท่านก็ "จอง" ไว้แล้ว


ก่อนเดินทางกลับระยอง  เรามาฟังกันว่า "ประทับใจ" อย่างไรบ้าง



สำหรับท่านอาจารย์ก็ร่ำลากับลูกศิษย์ลูกหา ท่านอาจารย์ก็ขึ้นรถตู้กลับ กทม. พร้อมกับญาติ ๆ ที่เดินทางมาด้วยกัน



กระผมสอบถามกับท่านอาจารย์ว่า "ไม่อยากสลักชื่อไว้ที่สถูปเพื่อเป็นเกีียรติประวัติหรือ" ท่านอาจารย์ตอบว่า "ไม่หรอก" เพราะเราไม่ได้ทำคนเีดียว  แต่เรา "ภูมิใจ" ในสิ่งที่เราได้ทำแล้วไง

 สำหรับ..นาย..กระดิ่งทอง..เองก็ "ยินดี" ถึงแม้จะขับรถคนเดียว แต่ก็ "ภูมิใจ" กับการทำบุญครั้งนี้  ระยะทางประมาณ 700 กิโลเมตร  ระบบนำทางบอกประมาณ 8 ชั่วโมง.  โอ๊ว..ว พระเจ้า  ก็จริงตามนั้น  ...แม่นจริง ๆ

ท้ายสุด  ก็ขอให้ทุก ๆ ท่านเดินทางโดยสวัสดิภาพ

ฟังดูซักนิดซิ....พูดอารายไปบ้าง




         ชมภาพประกอบการทำบุญครั้งนี้..ได้เลย (มีทั้งหมด 21 กรอบ)























                 ขอได้รับความปรารถนาดีจาก.....กระดิ่งทอง