วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ต้อนรับนักศึกษาใหม่ R-5 มจพ.

เมื่อวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๕๔ เป็นวันแรกของการ “เปิดเทอมใหม่” 

และเป็นโอกาสที่ดีของนักศึกษา มจพ. ปริญญาโท สาขา “การจัดการอุตสาหกรรม” ของศูนย์ระยอง รุ่นที่ ๔ ได้มีกิจกรรมรับ “รุ่นน้อง R-5” ในบริเวณรั้วมหาวิทยาลัย (โรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร) ของจังหวัดระยองเอง

ปี2554นี้ “นาย-กระดิ่งทอง” ก็เป็นรุ่นพี่เขาไปซะแล้ว เพราะต้องเปลี่ยนไปตามวาระตามปี การเรียนที่ใช้เวลา 2 ปีนั้น ช่างรวดเร็วเสียเหลือเกิน นี่ก็ผ่านไป “ครึ่งทาง” แล้วครับสำหรับการศึกษาที่นี่

อีก 1 ปีต่อไป “ความยาก ก็ยังคงเช่นเดิม ที่จะต้องนอนดึก ทำหน้าที่หลายอย่าง ทบทวนความรู้เก่า ๆ ที่เรียนมาเพื่อที่จะทำ “สาระนิพนธ์” ที่จะต้องนำเสนอก่อนจบ


การรับน้องในปีนี้ก็เป็นการรับน้องแบบ “เรียบง่าย ... ไม่หวือหวา... ไม่รุนแรง”

ส่วนใหญ่เป็นการ “แนะนำตัว" ให้รุ่นพี่ได้ทราบ ดังเช่น ชื่อและนามสกุลอะไร ทำงานที่ไหน ท่าที่ชอบล่ะ จากนั้น “รุ่นพี่” เองก็แนะนำตัวให้รุ่นน้องได้รู้บ้างเช่นกัน


การต้อนรับน้องรุ่น R-5 คนที่จะเป็น “โฆษก” นั้นก็มี “พี่เล็ก” ที่ถนัดในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก

พี่ท่าน..ได้นำเรื่องเล่าให้รุ่นน้องฟังอยู่ตลอดเวลาครับ ถ้าเป็นเรื่องประเภทนี้พี่เล็กของผมถนัดมากครับ และก็คล่องแคล่วว่องไวด้วย


จากนั้นก็มีพี่ “เมศ” ที่เข้ามาช่วยอีกแรงหนึ่งเพื่อไม่ให้พี่เล็กของเราเองต้องเหนื่อยมากก็การทำหน้าที่นี้

อย่างไรทางรุ่น R-4 ก็ต้องขอขอบคุณในการทำหน้าที่นี้



พี่ใหญ่ทั้งสองท่านก็กำลังปรึกษาหารือถืงวิธีและขั้นตอนในการต้อนรับรุ่นน้องแบบ “กระชั้นชิด” และ กระชับฉับไว”

เพราะขณะนั้น “ฝนก็จะตก” ดังนั้นขั้นตอนที่เป็นกลางแจ้งถึงแม้จะน้อยนิดก็ต้องถูกตัดทิ้งออกไปจากรายการเดิม


ครั้งนี้ก็มี “สาว ๆ ของรุ่นพี่ R-4 ทั้งสองท่านที่คอยให้การต้อนรับแบบเรียบง่ายด้วยโดยให้น้อง ๆ รุ่นที่ 5 การลงทะเบียนที่โต๊ะด้านหน้าตึก

รวมทั้งมีการจับฉลากให้รุ่นพี่ประกบเมื่อมีปัญหาใด ๆ จะได้ปรึกษาได้เมื่อพบปะกัน


ซึ่งสาวสวยรุ่นพี่ทั้งสองนั้นก็เต็มใจที่จะทำหน้าที่นี้แบบไม่ย่อท้อใด ๆ



เวลาที่มีอยู่แบบจำกัด เพราะว่าการรับน้อง “เยี่ยงนี้” เป็นการรับน้องแบบธรรมดา

ซึ่งการรับแบบที่เป็น “ธรรมเนียม” ของมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ....โดยเฉพาะสาขาการจัดการอุตสาหกรรม การต้อนรับรุ่นน้องที่เป็นทางการนั้นจะเรียกว่า “การปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่”

ซึ่งจะจัดอีกครั้งหนึ่งโดยจะเป็นการรวมกันของนักศึกษาใหม่ของปี 2554 ทั้งหมด 3 แหล่งคือจาก กรุงเทพมหานคร , อมตะ,และระยอง


โดยปีนี้จะจัดงานขึ้นที่จังหวัด “นครนายก” ในวันที่ 9-10 กรกฏาคม 2554 ณ. โรงแรมภูผางามรีสอร์ท

การจัดพิธีรับน้องขึ้นที่จังหวัดนครนายกแห่งนี้จะถือว่า “เป็นทางการ” ซึ่งจะเรียกพิธีนี้ว่า “พิธีการสวมสูท”

แน่นอนว่า ถ้าไม่ได้รับการสวมสูทจากท่านอาจารย์ในพิธีนี้ ก็ไม่ถือว่าได้เป็นนักศึกษาที่สมบูรณ์ของมหาวิทยาลัยพระเจ้าเกล้าพระนครเหนื สาขาการจัดการอุตสาหกรรที่สมบูรณ์แบบ

สำหรับช่างภาพของระยองรุ่น R-4 นั้นต้องยกให้กับ “น้องธี” ครับ (ท่านอื่นก็ยังมี แต่ไม่ค่อยมีเวลาว่างที่จะถ่ายภาพเท่านั้น อย่า.....น้อยใจนะครับ)

น้องของเรานั้นทั้ง “เก่ง” ทั้ง “หล่อ” อะไรจะครบครันขนาดนั้น (น่า...อิจฉา ว่างั้นเถอะ)


สำหรับภาพกิจกรรมพอคร่าว ๆ ในวันนั้นก็มีการ “ลงทะเบียนขานชื่อ” และ “กราบไหว้สักการะสิ่งศักดิ์ศิษย์” ภายในบริเวณพื้นที่ของมหาวิทยาก็เพื่อ “ขอขมาลาโทษ" ถ้าจะทำอะไรที่ล่วงเกินท่านในอนาคต




สถานที่ไหว้ก็ไม่ต่างอะไรกับคนไทยทั่ว ๆ ไปครับ ก็มีที่สถานที่ตั้งของ “พระพุทธรูป” ที่อยู่ด้านหลังอาคารเรียนและการไหว้ “เจ้าที่เจ้าทาง” ด้วยครับ

และมีการมอบดอกไม้ให้กับรุ่นน้องเพื่อเป็นการต้อนรับที่ถือได้ว่า “อบอุ่น” ดอกไม้ที่ให้นั้นก็เป็น “ดอกกุหลาบ”

แสดงถึงว่า รุ่นพี่นั้นยินดีต้อนรับรุ่นน้องด้วยความรักและพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือสำหรับการเรียนที่นี่

รวมทั้งสิ่งอื่น ๆ ที่จำเป็น จะไม่ทอดทิ้งกัน เพราะเราได้เดินเข้ามาศึกษาในพื้นที่เดียวกันภายใต้ชื่อเดียวกันแล้ว


รวมทั้งสมาชิกรุ่นพี่ R-3 ท่านอื่น ๆ ด้วยก็มา “ยินดี” กับน้องใหม่อีกด้วย


เช่นกันครับ (รุ่นพี่ R-3 ใส่เสื้อรุ่นสีขาวคอปกสีส้ม...นั่งอยู่ด้านซ้ายมือทั้งสองท่าน , เสื้อสีชมพูด้านซ้ายมือทั้งสองท่านคือรุ่น R-4)


ภาพนี้ก็เป็นรุ่นพี่ R-3 ครับ ที่เพิ่งจบไปหมาด ๆ เลย ซึ่งก็เป็น “พี่ใหญ่อีกท่านหนึ่ง” ที่ทำงานอยู่ที่ “ไทยน๊อคสตีล” ก็มาให้กำลังใจแก่รุ่นน้องด้วย


ส่วนรุ่นพี่ R-2 คุณไพศ พร้อมกับ "พี่อ่ำ" ก็เข้ามาร่วม “ยินดี” รับน้องรุ่น R-5 ด้วยครับ

และก็ยังให้คำแนะนำที่ดี ๆ รวมทั้งให้กำลังใจแก่รุ่นน้อง R-5 ที่เข้ามาเล่าเรียนที่รั้วของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ด้วย  

เนื่องจากว่า ทางมหาวิทยาลัยนั้นได้เข้มงวดเกี่ยวกับการเรียนเป็นอย่างมาก ถือได้ว่าหลักสูตรการเรียนนั้น “ยากมาก ๆ" 

 
ซึ่งมีทั้ง “การคำนวณ” เพราะเป็นวิศวะ และทั้งทางด้าน “ทฤษฏี” ก็ต้องเรียนรู้ไปด้วยกัน


คำว่า “ยาก” นั้นอาจจะมาจากการ “ร้างเวที” ไปนาน รวมทั้งอายุที่ก็มากกันหลายท่าน แต่ความยากนั้นก็ไม่ยากมากถ้าตั้งใจศึกษาเล่าเรียน


เพราะการเรียนระดับปริญญาโทนั้นจะไม่แข่งกันเรียนครับ จะเป็นการที่ “ต้อง” ช่วยเหลือกันมากกว่า

ดังเช่น ช่วยกันเรียน, ช่วยกันติว ใครที่ไม่เข้าใจก็ต้องช่วยกันสอน เราต้องไปกันเป็น “ทีม” หรือเป็น “กลุ่ม” ครับ จึงจะจบกันได้ทุก ๆ คน


แน่นอนว่า ประเทศที่พัฒนาแล้วไม่มีหรอกที่ผู้นำเก่งคนเดียว และจะพัฒนาประเทศได้ดีและเร็ว ต้องร่วมมือร่วมใจกันทั้งประเทศ

คือต้องรวมกันเป็น “หนึ่งเดียว” และ “มุ่งไปทางเดียว” จึงจะสำเร็จ ถ้ามัวแต่ “แตกแยก” มันก็จะเป็น “ภาระ” ที่คอยหน่วง “แรงม้า” ที่ขับเคลื่อนให้มีเรี่ยวแรงใช้งานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ

จากนั้นรุ่นพี่ก็ซึ่งก็นำด้วย “พี่ใหญ่ พลศักดิ์” ก็ได้แนะนำสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำขณะที่เริ่มเรียนหรือนับตั้งแต่เข้ามาเรียนที่สถาบันแห่งนี้ เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยและเป็นหนึ่งเดียวกัน

จากนั้นเรามา "ชมภาพ" กันครับ












































































































































































เรามา "ฟัง" พี่วิชาญให้คำแนะนำกับรุ่นน้อง R-5 กัน