วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2555

สอบก้าวหน้า "สารนิพนธ์" ของ A2,R4

สวัสดีปีใหม่ 2555 สำหรับคนไทยนะครับ ต้นปีใหม่นี้นาย "กระดิ่งทอง" ก็จะนำเสนอสิ่งสำคัญที่เคยได้ทำกันมา นั่นคือการ "สอบก้าวหน้า"

ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการทำสารนิพนธ์ก่อนจบการศึกษาของทุก ๆ คนที่จะจบได้แบบจริงจังและสมบูรณ์

ในระหว่างที่สอบสารนิพนธ์นั้น "เข้มข้น" เพียงใด ท่านสามารถ "รับชม" ได้ตามด้านล่างต่อไปครับ

เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2554 นักศึกษา ป.โท(มจพ.) สาขาการจัดการอุตสาหกรรม ของระยองรุ่นที่ 4 และ อมตะรุ่นที่ 2 ได้ทำหน้าที่สำคัญคือการนำเสนอหัวข้อสอบของการทำสารนิพนธ์ แปลว่า "นิพนธ์ที่มีสาระ"

วิทยานิพนธ์ และ สาระนิพนธ์ นั้นความสำคัญไม่ได้แตกต่างกัน สำคัญอยู่ที่ "เนื้อหา" แต่ถ้าพิจารณาที่ชื่อแล้ว "สารนิพนธ์" จะเป็นรองเพราะใช้เวลาทำน้อยกว่า แม้กระนั้นให้พิจารณาที่ "เนื้อหา" จะดีที่สุด



เริ่มแรกนั้นเรามาดู "คุณกุ้ง" และ "คุณก้อย" กล่าวทักทายกันก่อน เพราะในช่วงเช้าเป็นช่วงที่กำลังเตรียมตัวกันเลย

ซึ่งบางคนก็อาจจะพร้อมที่จะนำเสนอและมีน้อยท่านที่ "ยังไม่พร้อม" ที่จะนำเสนอ ก็เนื่องมาจากภาระกิจส่วนตัวที่ต้องรับผิดชอบเยอะนั่นเอง ...เรามาชมภาพกัน...




จากนั้นเรามาชม "คุณทัศ" นักศึกษาของศุนย์อมตะ รุ่นที่ 2 ที่ "อารมณ์ขัน" ตลอดเวลา (เพราะผมยังไม่เคยเห็นเค้า "เคร้า" เลย)

คุณทัศ...ก็จะพาเราไปสัมภาษณ์นักศึกษาของ "อมตะรุ่นที่2" กันบ้างว่าก่อนที่จะมาสอบวันนี้นั้น เมื่อคืนได้ทำอะไรบ้าง ได้นอนมั้ย,นอนหลับดีมั้ย และมีความพร้อมที่จะนำเสนอได้มากน้อยเพียงใด




และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งท่านที่เป็นนักศึกษาของ "อมตะรุ่นที่ 2" ที่จะต้องนำเสนอหัวข้อของการสอบก้าวหน้า

นักศึกษาของ "อมตะ" นั้นก็มีหลาย ๆ ท่านที่ "เก่ง" และ "ตำแหน่งการงานที่ดี" หลายท่าน แถมยังหน้าตาดีและฉลาดล้ำเลิศอีกด้วย
...เรามาดูคุณทัศสัมภาษณ์กันดีกว่า....




เท่าที่ผมสังเกตุนั้น นักศึกษา "อมตะรุ่นที่ 2" ไม่ค่อยเครียดเลย ต่างกันกับนักศึกษาของ "ระยองรุ่นที่ 4" ที่ "เครียด" กันซะจริง ๆ

นักศึกษาหญิงทั้งสองท่านนี้ "ยิ้มแย้ม" และ "แจ่มใส" อยู่ตลอด คุยกัน "สวนเส" และ "เฮฮา" เหมือนว่าไม่มีอะไรจะเกิดขึ้นกับเรา



กลุ่มนี้ยัง "จับเข่าคุยกัน" ไปเรื่อย ๆ เพื่อที่จะให้ ผ่อนคลาย มากที่สุด ...แถม...ยัง "หัวเราะ" กับสิ่งที่เกิดขึ้นอย่าง "สบายใจ"




อย่าง "หนุ่ม A2" ท่านนี้ก็ยกนิ้่ว "สู้ ๆ" เหมือนหนังเกาหลีที่ต้องให้กำลังใจกันเมื่อยามที่ "ท้อแท้" แทบจะทุกเรื่องเลย และยังบอกว่า "ไม่ว่าอะไรจะเกิด..ก็ต้อง..ลุย..แล้ว"


ใช่แล้ว....ก็จะไปเครียดมันทำไมล่ะ เพราะการทำอะไรก็ตาม...มันอาจจะไม่ถูกใจคนฟัง คนฟังก็ "ติ" เพื่อจะปรับปรุงเท่านั้นแหละ ...อิอิ...

        ...ไม่เชื่อลองดูครับกับภาพด้านล่างนี้...



จากนั้น "นายกระดิ่งทอง" นักศึกษาของศูนย์ระยองรุ่นที่ 4 ซึ่งทำหน้าที่หลายอย่างด้วยกัน หนึ่งในนี้ก็จะเขียนประวัติฝากไว้ที่ "อากาศ" โดยอยากดูเมื่อไรก็ "ดึงข้อมูล" ลงมาดูได้ เพียงขอให้มี "อินเตอร์เน็ต" เท่านั้นแหละ

แต่โดยส่วนมากผมเองก็ไม่ได้รู้หมดทุกอย่างหรอก อยากรู้ก็ถามคนโน้นคนนี้เอา ซึ่งเขารู้มากกว่า และเราก็จะรู้ตามเขาไป สิ่งที่ผมรู้ก็ "ชี้แนะ" คนอื่นไป เป็นการแลกเปลี่ยนซะมากกว่า

คราวนี้ขอกล่าวอะไรบ้างก่อนที่จะมีการเริ่มงานอย่างเป็นทางการ
ซึ่งก่อนที่จะถึงวันสอบนั้นก็ "หนักหนา" และ "สาหัส" เช่นกันครับ
                     ...ลองฟังดู...




หวนกลับมาคุยกับนักศึกษาของศูนย์อมตะอีกครั้งครับ ซึ่งเป็นคน "บ้า่นเฮา" ที่ "ระหก-ระเหิน" (เดินอากาศไม่ได้เท่านั้น)

บุคคลท่านนี้ก็เข้ามาหากินทางภาคตะวันออกอย่างเช่นตัวกระผมนั่นแหละ
มี "ฝีมือ" ในการ "เล่นกีต้า" แบบ "ขั้นอินทร์" ให้ความสนุำกสนานกับเพื่อนๆ ยามออกท่องเที่ยวตามที่ต่าง ๆ

ผมไปร่วมงานสังสรรค์เพียง 2 ครั้ง ก็ยังประทับใจในฝีไม้ลายมือของเขาเลย มาฟังว่ามีอะไรจะเล่าบ้าง ...ติดตามครับ...



ต่อไปดู "คุณกุ้ง" (ขวามือ) กับ "น้องธี" (ซ้ายมือ) ให้สัมภาษณ์ ถึงความลำบากยากเข็นของการทำ "สารนิพนธ์" ก่อนที่จะออกมาเป็นเล่มได้อย่างไร


ทั้งสองท่านนี้ทำงานที่เดียวกัน และยังอยู่ใกล้กันด้วยนะ ฉะนั้นทั้งสองก็จะ "แซว" และ "ปรึกษา" กันเล่นได้เรื่อย ๆ


คุณกุ้ง ..เก่งขั้น "โคตรเซียน" ผมล่ะ "นับถือ" จริง ๆ ส่วนน้องธีนั้นก็แบบ "ชิว ๆ " ไม่เดือดไม่ร้อน แบบไหนก็ได้ ไม่ขัด ...แต่..แฝงไว้ด้วยความเชื่อมั่นที่ค่า p> 0.05 ครับ


          ....ติดตามดูเขาจะกล่าวอะไร....



กลับมาสัมภาษณ์กับ "สาว ๆ" อมตะ รุ่นที่2 กันอีกครั้งว่า รู้สึก "ตื่นเ้ต้น" เพียงใดก่อนที่จะขึ้นไปยืนบนโพเดียม

และจากที่สังเกตุตั้งแต่แรกนั้น ไม่ "หวือหวา" เท่าไร หรือว่าจะ "ทำใจ" ได้แล้ว ขอให้ทำใจแบบ "สบาย ๆ " ดีกว่า

ต่อไปก็มี "สู้ ๆ ๆ ๆ ๆ " เท่านั้่นแหละค่ะ....พี่ (จะเครียดทำไมล่ะค่ะ)

              ....เชิญชมกัน...



ช่วงของการเปิดงานจริง มีท่านอาจารย์ ดร. ยุทธชัย เป็นคนกล่าวเิปิดงาน และได้แนะนำประวัติของมหาวิทยาลัยว่า "กำเนิด" เกิดมาได้จากอะไร ก่อนที่จะมาเป็นชื่อนี้ ก่อนนั้นชื่ออะไร
               ...ติดตามครับ...



เราเริ่มกันที่คนแรกเลย "คุณเจริญ" หรือ "คุณชอร์ค" เรานี่เองครับ ท่านนี้เป็น "หัวหอก" สำคัญทางด้านวิชาการ กระผมมีข้อสงสัียอะไรก็จะถามกับท่านนี้ด้วย และก็ตอบได้ "ทุกอย่าง" ที่เกี่ยวกับที่เรียนครับ

เพราะคุณชอร์คนั้นก็เป็นคนที่ "ทุ่มเท" เวลา "ตีสอง" บางวันก็ยังไม่หลัีบเพราะผมเห็น "เมลย์" ยังส่งมาให้เพื่อน ๆ อยู่ กระผมจึงโทรถามข้อสงสัยซะ

(ต้อง "ขออภัย" ไฟล์ที่ผมบันทึกไว้ "เสียเป็นส่วนใหญ่" จึงไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับการนำเสนอเท่าไร

             ...เชิญชมตามด้านล่างครับ...



มาฟังเพื่อน ๆ ที่นั่งอยู่ด้านล่างหลังจากที่ได้นำเสนอสารนิพนธ์ไปแล้วหนึ่งคนนั่นคือคุณชอร์ค

เรามาฟัง "คุณสาวิตรี" พูดถึง "ความรู้สึก" จากที่อาจารย์ได้สอบถามปัญหาและที่มาที่ไปอย่าง "นานแสนนาน" คุณสาวิตรีรู้สึกอย่างไรบ้าง....ดีกว่า หวั่น ๆ หรือ ระแวง ๆ เอ๊ะ...อย่างไรกัน

             .....ตามนี้ครับ.....



จากนั้นเป็นคิวของคุณ "จักรภูมิ" ท่านนี้เป็นนักศึกษาของศูนย์อมตะรุ่นที่ 2 ขึ้นนำเสนอสารนิพนธ์ก็คนที่ 2 แต่ดูมาดภายนอกนั้น "ไม่หวัน" แม้แต่ครับ "ยิ้มแย้ม" และ "แจ่มใส" พร้อมที่จะรับ "คำติ-ชม" ได้ทุกเมื่อ (ว่างั้นเถอะ)

การนำเสนอเป็นไปอย่าง "ราบรื่น" แต่พอจบแล้ว "เท่านั่นแหละ" คำถามขนมาเป็นกองทัพ

...เชิญติดตามชม... (ตอนแรก, มีทั้งหมด 2 ตอน)



การนำเสนอสารนิพนธ์ของคุณจักรภูมิ (ตอนที่ 2)



จากนั้นมาฟัง "คุณวิเศษ" (ขวามือ) รำพึงรำพันเพื่อระบายความในใจบ้างว่า จะเป็นอย่างไร เพราะยังไม่ได้ขึ้นไปนำเสนอ ตัองรอคิวอยู่อีกตั้งหลายคน

รวมถึง "พี่ป๊อก" (ซ้ายมือ) ครับ ดูหน้าซีดหน้าเซียว (เชียว) แต่ด้วยประสบการณ์ที่ช่ำชองทั้งสองท่านนั้นไม่น่าจะ "สะพรึงกลัว" นะครับ

กระผมก็ต้องขอขอบคุณทั้งสองท่านด้วย เพราะกระผมก็เข้าไปปรึกษาหาความรู้ตั้งเยอะแยะและหลายครั้ง


พี่ป๊อก...นั้น "สุดยอด" มาก ทั้ง "คารมย์" และ "ความรู้" ชนิด "ขอมดำดิน" โผล่่มารู้เรื่องเลย แหม...ล้ำลึกมาก (ถึงกับกินยาเลยเหรอพี่)


ด้วยท่าทางนั้น แล..ว่าจะ "หวั่น ๆ " อย่างไรชอบกล

       
  ...ลองมาฟังความรู้สึก...




ต่อไปเป็นคิวของ "คุณนนทกร" ท่านนี้ถึงกับ "ยก" โรงพิมพ์มาด้วยเลย แหม..ประทับใจมาก คิดกันตอนนั้นเลย ประเภท "just in time" หรือ "ทันเวลา" พอดีเลย (อยู่โรงงานญี่ปุ่นหรือเปล่าเนียะ)

ซึ่งผมเองก็เห็นท่านนี้ "ง่วน" อยู่ตั้งแต่เช้าแล้วล่ะครับ การจัดลำดับที่ดีก็ทำให้ประสบความสำเร็จไปบ้างแล้ว นี่ดีนะที่นำเสนอคนกลาง ๆ ถ้าเป็นคนแรก ๆ น่าจะ "จ้าละหวั่น" เป็นแน่แท้ ...ลองดูครับ...



       ต่อไปเป็นการนำเสนองานของ "คุณนนทกร"



ต่อไปเป็นช่วงเวลาการนำเสนอสารนิพนธ์ของ "คุณวิเศษ" การนำเสนอจะออกมาในรูปแบบของ "การออกแบบการทดลอง" หรือ "DOE" ตามที่ได้ร่ำเรียนมา

จากภาพที่เห็นนั้นสื่อได้ว่า "จิ๊บ จิ๊บ" แสดงว่าไม่ใช่เรื่องใหญ่แน่ ๆ

ทำเรื่องเกี่ยวการนำสารทำความเย็นที่ทดสอบแล้วกลับมาใช้ใหม่อีกเพื่อลดต้นทุน อาจารย์ที่ปรึกษาคือท่านอาจารย์สมเกียรติ จงประสิทธ์พร

...ติดตามชมกันได้เลย...



ลำดับต่อไปก็เป็นคิวการนำเสนอสารนิพนธ์ของ "ศุภณัฐ" หรือ "กระดิ่งทอง" เรื่องที่นำเสนอนั้นก็เป็น "การออกแบบการทดลอง" หรือ "DOE" เช่นกัน

ครั้งแรกนั้นเป็นการนำเสนอแบบ One way ANOVA เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการฉีดน้ำเื่พื่อระบายความร้อนที่ชุดแผงคอนเดนเซอร์ จุดประสงค์หลักคือ การลดปริมาณน้ำที่ใช้ฉีดระบายความร้อน โดยยังคงรักษาอุณหภูมิด้านขาออกให้ได้เท่าเดิ

แต่ว่า ก่อนหน้านั้นไปหาแซวเขาทั่วไปหมด..รับชม..



   ต่อไปเป็นการนำเสนอสารนิพนธ์ของ "คุณศุภณัฐ"



สำหรับท่านต่อไปคือ "คุณณรงค์ชัย" การนำเสนอก็เป็น "การออกแบบการทดลอง" โดยใช้ One way ANOVA เพื่อทำการทดสอบเช่นกัน ซึ่งจะลดปริมาณสารเคมีที่ใช้ฉีดเข้าไปในระบบ

แต่ก่อนที่จะขึ้นสอบนั้น "หวั่นไหว" มากเลย มาถึงก็ช้า เก้าโมงเช้าเขาบอกยังอยู่ที่ระยองอยู่เลย โถ ๆ ๆ ท่าน คิดว่า...เขานำเสนอตอนบ่าย นี่ถ้าโดนนำเสนอตอนเช้าคนแรก ๆ "จุก" ครับ ไม่รู้ว่าจะออกมารูปแบบใด

...ลองชมภาพกัน...



ต่อไปเป็นการนำเสนอสารนิพนธ์ของ "คุณณรงค์ชัย"

 

ลำดับต่อไปคือคุณ "ณรงค์ฤทธิ์" หรือ "น้องหมาก" ของเรานี่เอง การนำเสนั้นเป็นไปอย่างราบรื่น ไม่มีอุปสรรค 
 
...แต่...พอนำเสนอจบเท่านั้นแหละท่าน คำถามตามเป็น "กระบุง" ตอบแทบไม่ทัน

ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นคำถามเพื่อที่จะให้เรายืนยันด้วยความมั่นใจว่า "ใช่" ไม่ได้ "ลอก" เขามานะ ตอบได้ไม่ "ตะกุกตะกัำก" และ "ไหลลื่น" นั่นคือ "ทำเอง" สำคัญคือ "อย่าลอก" เขามา
 
         ...ชมภาพกัน...




ต่อไปเป็นการนำเสนอ
สารนิพนธ์ของ "สาวงามคนสวย" ของ A2 นามว่า "สาวิตรี" (นางในวรรณคดีหรือเปล่า) ซึ่งก่อนที่จะขึ้นไปนำเสนอสารนิพนธ์นั้นก็หนักใจไปแล้วครั้งหนึ่ง

และต่อไปนี้ก็ต้องขึ้นไปนำเสนอสารนิพนธ์ของตัวเองที่ได้ทำไว้ ช่วงที่นำเสนอนั้นก็ว่ากันไป ครั้นเมื่อจบแล้วก็มีคำถามมาอีก
"กระบุงโกย" เฮ้อ...อ ก็ว่ากันตามธรรมเนียมน่ะนะ 


              ...ลองชมกัน...



ต่อไปนั้นเป็นลำดับของ "คุณวิบูรณ์" สายนี้จะเป็นในแนว "ระบบสารสนเทศน์" การนำเสนอจะนิ่งมาก (ประสบการณ์มาก)

การนำเสนอไปเรื่อย ๆ ออกมาแบบ
"พระเอก" รูปหล่อเสื้อหนัง (ว่าไปนั่น) เนื่อหาสาระนั้นก็ยัง "เข้มข้น" เ่ช่นเดิม

      ...ติดตามชมภาพกัน...



ลำดับต่อไปเป็นการนำเสนอของ "คุณสุทัศน์" A2 พ่อหนุ่มอารมณ์ดี เพราะผมยังไม่เคยเห็นเขาเครียดซักครั้งเลย สุขตลอด 

การนำเสนอก็ออกไปในแบบ "การออกแบบการทดลอง" หรือ DOE นำเสนองานไปเรื่อย ๆ ครับ ไม่ค่อยหนักใจเท่าไร (ตามประสาคนอารมณ์ดี)
ตอนท้ายก็เจอคำถามบ้างเล็กน้อย (พอเป็นกษัย) หรือว่าทำมาดีก็ไม่รู้นะ
            ...ชมภาพกัน...



ต่อไปเป็นการนำเสนอของคุณ "สหรัส" งานที่นำเสนอออกมาในแนว "ระบบสารสนเทศน์" สื่อด้วยข้อมูลที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน 

โดยการใช้โปรแกรม "ไมโครซอฟแอคเซส" เขียนขึ้นมา โดยนำเอาข้อมูลที่ยังไม่เคยมีขึ้นมาใช้ในที่ทำาน ความยากง่ายก็อยู่ที่คนทำครับ (ผมเคยเข้าไปยุ่งเกี่ยวนิด ๆ ก็ว่า "เอาการ" อยู่น่ะ) ก็มีท่านอาจารย์ ดร.ดร.อรรถกร เก่งพล เป็นที่ปรึกษาครับ (สุดยอดแล้ว) 

           ...ติดตามชมครับ...



ท่านต่อไปคือ "พี่หมู" ครับ สำหรับท่านนี้ก็นำเสนองานต่อผู้ใหญ่เยอะ ฉะนั้นการนำเสนอก็จะ "นิ่ง" เป็นเรื่องปกติ ประสบการณ์สำหรับการนำเสนอมาก ก็จะนิ่งหน่อย

ส่วนเนื้อหานั้นก็ได้ยินว่า "ไม่ค่อยลงตัว" อยู่บ่อยครั้ง แต่ท้ายสุดก็คง "ลงตัว" น่ะ (ง่ายกว่านี้ยังทำมาแล้วเลย...ใช่มั้ยพี่) 55



         ...มาชมภาพกัน...




สำหรับท่านต่อไปคือ "น้องธี" ครับ เด็กหนุ่มไฟแรง (แซงตลอด) งานนี้ "น้องธี" ก็นำเสนอดีครับ ...แต่..เป็นงานใหญ่ ท่านอาจารย์จึง "กังวล" ว่าถ้าเขาไม่นำมาใช้ เราก็ไม่จบ

งานสารนิพนธ์นี้ไม่ใช่แค่นำเสนอไว้เฉย ๆ ต้องทำได้ด้วย และพิ
สูจน์ได้ ไม่อย่างนั้น "ไม่จบ" ครับท่าน น้องธีจึงต้องเปลี่ยนหัวข้อไป (ลำบากอีกเยอะเลย)
 

             ...ชมภาพกัน...

 

ท่านสุดท้ายคือ "น้องอี๊ฟ " คนงามของ A2 ต้องสวยตลอดครับ นี่ขนาดจะขึ้นบนเวทีแล้วน่ะเนี๊ยะ 555

สาวงามคนนี้ก็เสนอเรื่องที่ "ใหญ่" เช่นกัน และ "ควบคุมยาก" เรียกได้
ว่า "ไกลตัว"

ดังนั้นวันที่ได้เสนอสารนิพนธ์จึงถูกสอบถาม "เยอะ" และใช้เวลานาน ซึ่งผู้ฟังก็เกรงว่าจะ "เอาไม่อยู่"
 

               
...ลองชมบรรยากาศกัน...

 

สุด ๆ แล้วดูว่า ระหว่างนักศึกษาศูนย์ระยอง R-4 กับนักศึกษาของศูนย์อมตะ A-2 ใคร "เครียด" กว่ากัน

ท่าที่ดูจากภาพนั้น "คุณน้อง" (คนในภาพ) ขมักเขม้นซะจริง ๆ ก่อนที่จะขึ้นจะ "ต้อง" จำให้ได้ทุกตัวอักษร ...เอากับเขาสิ...

...ก็ดูได้ตามภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวนี้ละกันครับ...



ต่อไปเป็นการกล่าวปิดงานของท่านอาจารย์ อรรถกร เก่งพล และ ท่านอาจารย์สมเกีียรติ จงประสิทธิ์พร