วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2554

ซ้อมดับเพลิงหรือฝึกดับไฟ

เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2554 "นายกระดิ่งทอง" ได้ไป "ซ้อมดับเพลิง" ที่โรงกลั่นน้ำมันไทยออยล์ ซึ่งโรงงานแห่งนี้ตั้งมารวมระยะเวลาทั้งหมดถึงขณะนี้ 50 ปีแล้ว ถ้าเป็นคนก็ถือได้ว่าเป็น "วัยกลางคน"

ทำไมถึงต้องไปซ้อมดับเพลิงด้วยปล่อยให้มัน "ไหม้" ไปอย่างนั้นไม่ได้เหรอ .....

....ไม่ได้แน่นอนครับ เพราะขณะที่เราทำงานเมื่อมีเหตุเพลิงไหม้เกิดขึ้น พนักงานจะต้องรีบดับไฟที่เกิดขึ้นนั้นให้เร็วที่สุด

โดยสูญเสียน้อยที่สุดและปลอดภัยมากที่สุดด้วย ทั้งนี้เพื่อป้องกันเหตุการณ์ไฟไหม้นั้นไม่ให้ลุกลามใหญ่โต...ขอรับ

ไฟ "ไหม้" ได้อย่างไรกัน องค์ประกอบของไฟ (Component of Fire) ที่จะทำให้ไหม้นั้นมีด้วยกัน 3 ประการ
1.ออกซิเจน (Oxigen) ไม่ต่ำกว่า 16% (ในบรรยากาศปกติจะมีออกซิเจนประมาณ 21%)
2.เชื้อเพลิง (Fuel) ส่วนที่เป็นไอ (เชื้อเพลิงจะส่วนที่เป็นไอง่ายที่สุด)
3.ความร้อน (Heat) ที่เพียงพอต่อการลุกไหม้กับสารนั้น ๆ




ดังนั้น วิธีดับไฟจึงมีด้วยกัน 3 วิธี คือ

1. ทำให้อากาศขาดออกซิเจน
2.ตัดเชื้อเพลิง
3.ลดความร้อน




ประเภทของไฟ มี 4 ประเภท
ไฟประเภท A คือไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงที่มีลักษณะเป็นของแข็ง เช่น ฟืน ฟาง ยาง ไม้ ฝ้า กระดาษ พลาสติก รวมทั้งตัวเราเอง
วิธีการดับที่ดีที่สุดคือ การลดความร้อน (ใช้น้ำ)

ไฟประเภท B คือไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงที่มีลักษณะเป็นของเหลวและก๊าซ เช่น น้ำมันทุกชนิด แอลกอฮอล์ ทินเนอร์ ยางมะตอยและก๊าซติดไฟ
วิธีการดับที่ดีที่สุดคือ การทำให้อับอากาศ โดยคลุมดับ,ใช้ผงเคมี,โฟม

ไฟประเภท C คือไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงที่มีลักษณะเป็นของแข็งที่มีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่ เช่น อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด การอาร์ค การสปาร์ค
วิธีการดับที่ดีที่สุดคือ ตัดกระแสไฟฟ้าแล้วจึงใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไล่ออกซิเจน

ไฟประเภท D คือไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงที่มีลักษณะเป็นโลหะและสารเคมีติดไฟ เช่น วัตถุระเบิด,ปุ๋ยยูเรีย(แอมโมเนียมไนเตรด) ผงแมกนิเซียม,ผงอลูมิเนียม
วิธีการดับดีที่สุดคือ การทำให้อับอากาศขาดออกซิเจน

มีใครบ้างที่ "ร่วมฝึกการดับไฟ" ในครั้งนี้

บุคคลที่นำไปฝึกที่สนามฝึกของบริษัท ไทยออยล์ จำกัด(มหาชน) นั้นก็จะมีทีมงานดับเพลิงของบริษัทเราเองนำไปอย่างเช่น พี่ธงชัย พี่ชนาธิป และท่านอื่น ๆ อีก

นอกจากนั้นก็เป็นพนักงานในฝ่ายผลิตที่ต้อง "ฝึกฝน" การ "ฉีดน้ำดับเพลิงและโฟม" กับเหตุการณ์ที่ "สมมติ" ขึ้น "จริง" ล่ะครับ


ดังมีสมาชิก (ดูภาพ) ได้เลยครับ


ก็มี "ข้าน้อย" เอง (คนขวามือ)


คนซ้ายมือก็คือ "ไมตรี"


ขณะนี้เรานั้นในรถตู้นะครับ ซึ่งก็มี "บี..ซัง" กำลังเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ตามประสาคน "พูดมาก" ...ไม่ใช่ ๆ ...ครับ ตามประสาคน "อยากรู้อยากเผยแพร่"


"บี..ซัง" นั้นก็จะเจื้อยแจ้วเจรจาไปเรื่อย ๆ ล่ะครับ เป็นบุคคลที่รู้มาก และก็เผยแพร่ความรู้มากด้วย ...ำคัญ...เลย เป็นคนไม่หวงวิชาครับ ช่วยเหลือใครได้ก็จะช่วยเหลือตลอดเวลา โดยไม่ทวงบุญคุณภายหลัซึ่งถือได้ว่าเป็นเรื่องที่ดีากครับสำหรับคนไทยเรา


ต่อไปก็คือ "มงคล" นะครับ สำหรับคนนี้สิ่งที่ชอบมากอีกกิจกรรมหนึ่งคือ "ตกปลา"รับ ถ้าได้ไปใกล้น้ำล่ะก็ต้องมี "เบ็ด" ติดตัวไปด้วยเพื่อตกปลาครับ

....ครั้งที่ไปเกาะช้างนั้นคนอื่นเล่นน้ำกันหมด แกถือเบ็ด "ล่าเหยื่อ" ให้เราได้มี "รับประทาน" กันครับ เรื่องอื่น ๆ ที่ชอบก็ยังมีอีกประเภท "อวบ อั๋น และ เนื้อ นม ไข่" อะฮ่า อย่าได้แย่งนะครับ ...ขอจอง..


ส่วนท่านอื่น ๆ นั้นก็มี "น้าหมู" นะครับ ทำไมถึงเรียก "น้าหมู" เพราะถ้าจะดูไม่ว่าจะเพียงผิวเผินหรือว่าดูแบบชัดเจน หน้าตาของเขานั้นจะ"คล้าย"กับนักร้องชื่อดังคือ"พงษ์เทพกระโดนชำนาญ"


น้าหมูตัวจริงนั้นเป็นนักร้องเพลงเพื่อชีวิตที่ร้องเพลงได้ไพเราะมาก

ในอดีตก็เคยเป็นผู้นำหลักของกลุ่ม16ตุลาคมเมื่อหลายปีก่อน อีกทั้งยังเคยร่วมงานกับวงดนตรีชื่อ "คาราบาว" อีกด้วย

จากนั้นจึงแยกตัวออกมาเป็นศิลปินเดี่ยวด้วยความที่เหมือนกันมากอย่างนี้ล่ะครับจึงได้เรียกเขาว่า "น้าหมู" แทนชื่อเล่นและชื่อจริงของเขาไป



นอกจากนั้นก็ยังมี "หนู" ไม่ใช่อาจารย์หนูที่ชอบสักยันต์นะฮะ แต่หนูคนนี้จะชอบขับขี่รถ "มอเตอร์ไบค์" คันใหญ่ 

ความเร็วที่เขาขับขี่มานั้นก็ 280 กม./ชม.กับรถ "ซูซูกิ GSXR 1100 CC ซึ่งรถมอเตอร์ไซค์ยี่ห้อนี้มักจะทำรถที่เร็วที่สุดในโลกสำหรับรถที่ขับขี่บนถนนทั่วไป


 

ในทีมที่ไปด้วยกันก็ยังมีอีกดังเช่น พี่เสือ ,ระ,พิทักษ์,ชาติ,ธิ,กร,นพ,อนุชิต,พี่สมบูรณ์ และอีกหลาย ๆ ท่านที่ยังไม่ได้กล่าวถึง ซึ่งก็นั่งอยู่ในรถตู้ที่แสนสบายล่ะครับ



ขึ้นรถได้ก็หลับกันเลย เพราะว่าแอร์มันเย็น อากาศชวนนอนนะ ระยะทางก็พอเหมาะแก่การนอนอยู่แล้ว เมื่อไปถึงที่ฝึกจะได้ไม่เพลียว่างั้นเถอะ


 
ทำไมถึงได้ไป "ฝึกซ้อมดับเพลิง" ที่บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) 

เพราะที่นั่นมีครื่องมือและอุปกรณ์พร้อมและมากมาย รวมทั้งสถานที่ฝึกซ้อมก็ใกล้เคียงกับสถานที่ทำงานจริง




ไทยออยล์นั้นเป็นบริษัทที่ผลิตเกี่ยวกับ "น้ำมัน" โดยก่อตั้งบริษัทมานานจนครบ 50 ปีแล้ว โดยเป็นบริษัทที่ผลิตเกี่ยวกับน้ำมันแห่งแรก ๆ ของประเทศไทย


และเหตุการณ์สำคัญก็ได้ "อุบัติ" ขึ้นเมื่อปี 1999 หรือปี 2542 เหตุเกิดจาก "น้ำมันล้นถัง" และมีประกายไฟจากรถยนต์




ผู้ที่ไปประสพเหตุบริเวณถังเก็บน้ำมัน ซึ่งเสียหายประมาณ 3 ถัง และบริเวณอื่นอีก โดยมีผลกระทบกับสภาวะแวดล้อม แต่การระเบิดไม่ส่งผลกระทบวงกว้าง



 
ต่างจากการระเบิดของ "คลังก๊าซ" ที่จะส่งผลกระทบในวงกว้างกว่า ด้วยเหตุการณ์ครั้งนั้นใช้เวลาถึง 3 วัน 3 คืน 

กว่าจะดับได้เพราะว่า "เชื้อ" มีปริมาณมาก จึงทำให้เกิ"เพลิง"าน

  เหตุการณ์ "ลุกติดไฟ" ครั้งนั้นทำให้ "รถดับเพลิง" ที่จอดอยู่ใกล้ที่เกิดเหตุ "กระเด็น" เสียหายและ "พลิกคว่ำ่" (ดังภาพด้านข้าง) โดยไม่ได้ทำหน้าที่ดับเพลิงดังชื่อเลย

การระเบิดนั้น "รุนแรง" , "ร้อน" และผู้
คน "ตื่นตระหนก" เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเหตุการณ์รุนแรงแบบนี้ไม่ค่อยได้เกิดขึ้นกับประเทศไทยบ่อยครั้งนัก 


การดับไฟครั้งนั้งต้องใช้ทั้งน้ำจืด ,น้ำทะ เพราะน้ำจืดหมด และโฟม ซึ่งสุดท้ายต้องสั่งโฟมมาจากประเทศสิงคโปร์จึงจะพอดับไฟได้

วันที่ไป "ซ้อมดับเพลิง" นั้นเราได้เรียนรู้อุปกรณ์ที่จะใช้ในการดับเพลิงมีอะไรบ้าง เช่น หัวฉีดน้ำดับเพลิง 

ข้อต่อที่ใช้ต่อกับหัวฉีดดับเพลิงนั้นจะมี 2 แบบ คือ แบบสวมเร็ว และ แบบเกลียว แน่นอนว่าแบบสวมเร็วจะ "เร็ว" และ "สะดวก" กว่ 

กรณีข้อต่อแบบเป็นเกลียวนั้นถ้า "ถูกกระแทก" แล้วทำให้เกลียวล้ม การขันต่อเกลียวจะลำบากมาก

ถึงขั้นว่าหัวฉีดนั้นใช้ฉีดน้ำไม่ได้เลย เพราะไม่สามารถต่อให้สนิทได้ 

จึงทำให้น้ำรั่วไหลออกมา และแรงดันของนั้นที่มากถึง 10 บาร์นั้นถือว่าอันตรายมากถ้าข้อต่อหลุด

 


ภาพด้านซ้ายมือ แสดงให้เห็นถึงข้อต่อแบบสวมเร็วและข้อต่อที่เป็นแบบเกลียว ทำทั้งสองแบบก็เพื่อ "เอาใจ" คนใช้ที่มีความต้องการที่ไม่เหมือนกันนั่นเอง




 


ส่วนภาพขวามือ แสดงถึงหัวฉีดดับเพลิงที่ข้อต่ออยู่กับหัวฉีดเองเป็นแบบเกลียว.....แต่...สามารถนำข้อต่อมาต่อเพื่อให้เป็นข้อต่อแบบสวมเร็วได้

 หัวฉีดน้ำสามารถปรับอัตราการไหลของน้ำได้ที่หัวฉีด ช่วงความกว้างในการปรับก็จะแล้วแต่การออกแบบ เพราะมีหลายขนาดใด้เลือกใช้

 

 
ยังมี "ถังโฟม" อีก โดยจะต้องดูดโฟมไปผสมกับน้ำเพื่อดัลเพลิงชนิดที่เป็นทั้ง "น้ำมัน" และไม่ใช่น้ำมัน 

การฉีดเพื่อ "คลุมพื้น" ป้องกันไม่ให้ไฟลามเข้ามาติดเชื้อเพลิงที่ลอยอยู่บนผิวน้ำ การผสมนั้นก็มีตั้งแต่ 3 ถึง 6% 

ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับว่าเป็นน้ำมันหรือไม่ใช่น้ำมัน สัดส่วนในการผสมจะไม่เท่ากัน ถ้าเป็นน้ำมันจะใช้สัดส่วนที่มากกว่า




ภาพด้านขวามือ คืออุปกรณ์โดยรวมที่ใช้เป็นประจำ นั่นคือ สายน้ำดับเพลิง ,ถัีงดับเพลิง,หัวฉีดน้ำ,กล่องโฟม,ถุงมือ,หมวก,หน้ากากกันความร้อน , แนวกันเขตกันคนที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไป




 


และนี่คือ "รองเท้า" ซึ่งเป็นรองเท้าที่กันความร้อนหรืออุณหภูมิได้สูงมาก พื้นรองด้วยเหล็กแผ่นกันสิ่งของมีคมแทงทะลุขึ้นมา 

และหัวเหล็ก หมายถึงจะมีโครงเหล็กโค้งกันนิ้วเท้าถ้ามีสิ่งของที่หนักทับเท้า พื้นรองเท้าที่เหนียวนุ่มยึดเกาะพื้นได้ดีทั้งที่เป็นน้ำและน้ำมัน



ชุดกันร้อน ซึ่งต้องใส่กันทุก ๆ คนที่เข้า
"ผจญเพลิง" เพราะกันความร้อนหรืออุณหภูมิที่สูงได้มากเช่นกัน 

ซึ่งจะต้องใส่ให้ครบชุด (ดังภาพด้านขวา) มีทั้งแบบสองท่อนและแบบท่อนเดียว




จากนั้นเราไปชมภาพที่ "ฝึกซ้อม" กับ "เพลิงจริง" กัน......ซึ่งบอกได้เลยว่า "สนุก" และ "ประทับใจ" มาก โอกาสดี ๆ อย่างนี้หาได้ไม่ง่าย




เพราะเมื่อเราได้ "เรียนรู้" และได้ "ทดลอง" แล้ว "ความตื่นตระหนก" ก็จะ "ลด
น้ย" ลงไป มี "สติ" ในการที่จะ "วางแผน" และ "เข้าดับเพลิง" ทุกรูปแบบได้อย่างมั่นใจ



ข้อคิด....ถัง
ดับเพลิงควรมีไว้ "ติดบ้าน" และ "ติดรถ" ของท่านด้วยนะครับ ปัจจุบันนี้ราคาเครื่องดับเพลิงไม่แพงและยังมีขนาดเล็กสะดวกพกพาด้วย

ซึ่งมีวางจำหน่ายตามห้างสรรพสินค้าทั่วๆ ไป หรือมีมากจน "ร้านขายยา" ก็มีขายน่ะ ....แต่....ว่าง ๆ ก็นำมา "เขย่า" และ "ซ้อมฉีด" เล่นบ้าง

 
กระดิ่งทอง .....รายงาน.....

จากนั้นมาฟังเขาคุย...อาราย...
กันบ้าง


















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น